
นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 11 โรงเรียน , หัวหน้าส่วนงานเทศบาล , พนักงานเทศบาล , พี่น้องชุมชนเขตเทศบาลทั้ง 95 ชุมชน 4 เขต และสื่อมวลชน ร่วมในกิจกรรม ก่อพระเจเดีย์ทราย มีการแต่รูปทรงของกองทรายเป็นองค์เจดีย์ จากนั้นนำดอกไม้ต่าง ๆ ที่จัดหาและเตรียมมามาประดับตกแต่งให้สวยงาม โดยมีคณะกรรมการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกรรมการตัดสิน

สำหรับหลักเกณฑ์การให้คะแนน จะเน้น 1.การแสดงออกถึงฝีมือการก่อ ความประณีต สวยงาม 2.สื่อความหมายในด้านศิลปวัฒนธรรม แสดงเอกลักษณ์ศิลปะสถาปัตยกรรม 3. การจัดองค์ประกอบของเจดีย์ ขนาดได้สัดส่วน ความสมดุล 4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. ความตรงต่อเวลา/ ผลงานเสร็จทันเวลา และ 6. ความร่วมมือและความพร้อมเพรียงของทีม
โดยกิจกรรม ตบประทาย เป็นภาษาอีสาน หมายถึง การก่อกองทราย เป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เป็นการสืบสวนอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
