ทางเลือกใหม่ ฉีดยาป้องกัน HIV ดีกว่าแบบกิน-ผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพเต็ม 100%

View icon 11.9K
วันที่ 24 ธ.ค. 2567
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ฉีดยาป้องกัน HIV หรือ PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มที่สนใจ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่เพิ่มประสทธิภาพจากการกินเป็นการฉีดแทน ปัจจุบันมีหลายคนเข้าใจผิดว่า PrEP แบบฉีดเป็นวัคซีนป้องกันเชื้อเอชไอวี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว PrEP แบบฉีด คือ ยาสำหรับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

676aa16c23c184.97117716.jpg

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์และโรคติดเชื้อ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า "PrEP แบบฉีด ไม่ใช่วัคซีนป้องกันเชื้อ HIV  แต่เป็นยา cabotegravir ป้องกันได้เฉพาะเชื้อเอชไอวีเท่านั้น และต้องได้รับการฉีดอย่างต่อเนื่องทุก 2 เดือน ซึ่งหากขาด ช่วงหรือไม่ปฏิบัติตามกำหนด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้

ซึ่งยานี้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นได้ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เริม หูดหงอนไก่ ซิฟิลิส ฝีดาษวานร ฯลฯ ซึ่งถือเป็นทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการป้องกันเอชไอวีในปัจจุบัน

โดยสภากาชาดไทยจะเริ่มนำเข้าและให้บริการประมาณต้นปี 2568 โดยมีการศึกษา PrEP แบบฉีด ที่ชื่อว่า HPTN 083 และ HPTN 084 แสดงให้เห็นว่ายามีประสิทธิภาพป้องกันเอชไอวีดีกว่ายากินและช่วยลดความยุ่งยากในการที่ต้องกินยาแบบรายวัน

โดยก่อนเริ่มใช้ PrEP แบบฉีด จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อน เพราะยา PrEP ใช้สำหรับป้องกัน ไม่ใช่การ รักษา หากผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่แล้วกินหรือฉีดยา PrEP อาจทำให้เชื้อดื้อยาและยากต่อการรักษาในอนาคตได้ฉะนั้น PrEP แบบฉีดเป็น "ยา ไม่ใช่ วัคซีน"

ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีด PrEP ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เช่นปวดบริเวณที่ฉีด คลื่นไส้ หรืออ่อนเพลีย หากมีอาการผิดปกติที่รุนแรงควรพบแพทย์ทันที่ และผู้ที่ฉีดยา PrEP ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด และเข้ารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการป้องกันที่เหมาะสม"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง