ปรากฏการณ์เสาแสงเหนือท้องฟ้ายามค่ำคืนในจีน

View icon 57
วันที่ 19 ธ.ค. 2567
รอบรั้วเอเชีย
แชร์
เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า เสาแสง หลากสีสันเหนือท้องฟ้าในเมืองอาเล่อไท่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อไม่นานนี้ โดยมีการเผยภาพ เสาแสง จำนวนมากตั้งตรงดิ่งอยู่กลางท้องฟ้ายามค่ำคืน โดยปรากฏการณ์นี้ มักเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาว เมื่อแสงไฟสะท้อนกับผลึกน้ำแข็งในมวลอากาศเย็น จนกลายเป็นเสาแสงหลากสี

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยว่า ปรากฏการณ์เสาแสงนี้ เกิดจากการที่มีผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นแบน (plate ice crystals) จำนวนมากอยู่ในอากาศ อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและผู้มองเห็น ทำให้แสงจากแหล่งกำเนิดแสงสะท้อนผิวล่างของผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ พุ่งตรงไปยังผู้มอง จึงทำให้ผู้มองเห็นเป็นเส้นแสงในแนวดิ่ง เรียกว่า เสาแสง นั่นเอง(light pillars)

โดยในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ผลึกน้ำแข็งดังกล่าว มักล่องลอยอยู่ใกล้พื้น ทำให้เห็นเสาแสงพุ่งขึ้นจากพื้น ส่วนกรณีอื่น ๆ เช่น ปรากฏการณ์เสาแสงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เกิดจากผลึกน้ำแข็งในเมฆระดับสูง เช่น เมฆซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสง จึงเห็นเสาแสงจะปรากฏอยู่สูงจากพื้นค่อนข้างมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง