ทนายบอสพอล โต้ อัจฉริยะ เข้าห้องพนักงานสอบสวนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ต้องได้รับการรับรองจากผู้ต้องขังเท่านั้น ไม่ใช่จากญาติของผู้ต้องขัง

View icon 145
วันที่ 27 ต.ค. 2567
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ทนายบอสพอล โต้ อัจฉริยะ เข้าห้องพนักงานสอบสวนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ต้องได้รับการรับรองจากผู้ต้องขังเท่านั้น ไม่ใช่จากญาติของผู้ต้องขัง และตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่า โค้ชเเล็ปลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของนายอัจฉริยะ จึงทำให้นายอัจฉริยะฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆในคดีนี้

วันที่ 27 ตุลาคม 2567 ทนายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของ นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล ผู้ต้องหาในคดีบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ออกแถลงปกป้องสื่อทุกสำนัก โดยเนื้อหาในคำแถลงระบุไว้ดังนี้

ตามที่นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ได้กล่าวอ้างว่า การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนทำให้นายอัจฉริยะ ในทำนองที่ดีเนียนเข้าห้องพนักงานสอบสวนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ซึ่งเป็นการนำเสนอข่าวทำให้นายอัจฉริยะ ได้รับเสียหาย และจะฟ้องสื่อมวลชนทุกสำนักหากยังไม่แก้ข่าวนั้น

ผมในฐานะทนายความของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด และนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล กับพวก ขอปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกสำนัก เพราะการนำเสนอช่าวสารของสื่อมวลชนในกรณีที่นายอัจฉริยะฯ ใช้อำนาจหรือสิทธิพิเศษอะไรเข้าไปพบโค้ชแล็ป (ผู้ต้องขังของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ) ทั้งๆที่ไม่ไม่ใช่ผู้ที่โค้ชแล็ปให้ความไว้วางใจ ทั้งยังปรากฏในข้อมูลข่าวที่นายอัจฉริยะ ได้บอกสื่อมวลชนว่าภรรยาของโค้ชแล็ป รวมทั้งเพื่อนรุ่นพี่ของโค้ชแล็ปติดต่อให้เป็นบุคคลที่ผู้ต้องขังให้ความไว้วางใจจึงเข้าไปฟังการสอบถามของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

ข้าพเจ้าขอเรียนต่อสื่อมวลชนว่าการเข้าพบผู้ต้องขัง ตามระเบียบของเรือนจำต้องได้รับการรับรองจากผู้ต้องขังเท่านั้น ไม่ใช่จากญาติของผู้ต้องขัง และไม่ปรากฏว่าโค้ชเเล็ปลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของนายอัจฉริยะจึงทำให้นายอัจฉริยะฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆในคดีนี้ และไม่มีสิทธิเข้าร่วมการฟังการสอบถามหรือร่วมฟังการสอบปากคำร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนได้ และจากข้อมูลข่าวนายอัจฉริยะฯแจ้งต่อสื่อมวลชนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปสอบถามโค้ชแล็ป ไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสืบสวนปรากฏตามที่นายอัจฉริยะฯ ให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนยิ่งทำให้เห็นว่านายอัจฉริยะฯ ไม่มีอำนาจหรือมีสิทธิเข้าร่วมการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่อย่างใด

ทั้งสื่อมวลชนได้พยายามสอบถามข้อมูลจากทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยนายปราโมทย์ ทองศรี รักษาการณ์แทนผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ให้ข้อมูลว่าผู้ต้องขัง (โค้ชแล็ป) ไม่ได้ลงลายมือมือชื่อแต่งตั้งให้นายอัจฉริยะฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจ แสดงให้เห็นว่านายอัจฉริยะฯ ไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมตามกฎหมายของโค้ชแล็ป และไม่ปรากฏว่านายปราโมทย์ ทองศรี รักษาการณ์แทนผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนว่าได้อนุญาต หรือมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ท่านใดอนุญญาตให้นายอัจฉริยะฯ เข้าไปพบผู้ต้องขัง (โค้ชแล็ป) ที่ห้องพนักงานสอบสวนได้

จากกรณีที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสื่อมวลชนทุกสำนักได้นำเสนอข่าวที่ได้จากข้าพเจ้าที่ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 ตุลาดม 2567 และสื่อมวลชนได้เสนอข่าวจากข้อมูลที่ได้สอบถามนายอัจฉริยะ เรื่องรัตนพงษ์ ทั้งยังนำเสนอข่าวจากข้อมูลที่ได้สอบถามนายปราโมทย์ ทองศรี รักษาการณ์แทนผู้
บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จึงเห็น ได้ว่าสื่อมวลชนทุกสำนักได้นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาตาตามหน้าที่และจรรยาบรรณของการเป็นสื่อมวลชน ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วยที่นายอัจฉริยะฯ ขู่ดำเนินคดีกับสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา และข้าพเจ้าขอแจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง ได้รับรองเสรีภาพของสื่อมาลชนไว้ว่า “บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ”
การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกสำนักไม่ได้มีความผิดตามกฎหมาย ข้าพเจ้าขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนทุกสำนักในการนำข่าวให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ ซึ่งสื่อมวลชนทุกสำนักทำหน้าที่ด้วยดีมาโดยตลอด และขอให้สื่อมวลชนทุกสำนักมีความหนักแน่นไม่เกรงกลัวต่อการนำข่าวสารให้กับประชาชนต่อไป