นักศึกษา-จิตอาสา เร่งฟื้นฟูความเสียหาย

View icon 31
วันที่ 19 ก.ย. 2567
สนามข่าว 7 สี
แชร์
สนามข่าว 7 สี - เหตุการณ์ช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 17 กันยายน เกิดน้ำป่าไหลหลากบริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา ท่วมหอพักนักศึกษา นักศึกษาต้องหนีเอาตัวรอดขึ้นไปบนหลังคา ความแรงน้ำ พัดทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ลอยไป สร้างความเสียหายในพื้นที่ ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา ตอนนี้คนในพื้นที่เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด

สภาพความเสียหายบริเวณชุมชนหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับผลกระทบอย่างหนักข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ถูกน้ำเข้าท่วมได้รับความเสียหายทั้งหมด หลังน้ำลด เจ้าหน้าที่จิตอาสา นักศึกษา พร้อมผู้ประกอบการ เข้าทำความสะอาดอาคารสถานที่ การฟื้นฟูครั้งนี้คาดว่าจะต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมาสู่ภาวะปกติ

ชาวบ้านบางส่วนยังกังวลว่าจะมีฝนตกลงมาในพื้นที่อีก ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น

คาดสาเหตุเกิดจากโครงการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม จ.พะเยา
นายสะอาด ไชยกุล นายกเทศมนตรีตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ระบุว่า การเกิดน้ำป่าไหลหลากเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการก่อสร้างที่รุกแนวลำน้ำ การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบ รวมถึงฝนที่ตกลงมาหนักในพื้นที่

ซึ่งระเบียบการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ จะต้องมีระยะห่างจากลำคลองสาธารณะประมาณ 6 เมตร เชื่อว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟฯ เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ต่อไปต้องมาหารือกันว่าจะแก้ไขอย่างไร

เช่นเดียวกับ นายปริยัติ สุวรรณ กำนันตำบลแม่กา ระบุว่า ที่พะเยาเคยมีน้ำท่วม แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายหนักเหมือนครั้งนี้ นอกจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ประกอบกับพื้นที่มีการก่อสร้างขวางทางน้ำ จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม

นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟฯ รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่สื่อออนไลน์เผยแพร่ภาพและข้อความเกี่ยวกับ สาเหตุน้ำท่วมหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา อาจมีสาเหตุจากการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ข้อเท็จจริง มวลน้ำที่ไหลท่วมพื้นที่ เกิดจากฝนที่ตกหนัก และยังเป็นพื้นที่แอ่งกระทะ มีสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน ไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างถนนลำเลียงถมคลองแม่ เพราะถนนลำเลียง ไม่ได้ออกแบบเป็นฝายกั้นน้ำ

มีการวางท่อระบายน้ำขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร จำนวน 8 ท่อ เพียงพอต่อการระบายน้ำในสภาวะปกติ แต่เนื่องจากมวลน้ำมีปริมาณมาก ไหลเชี่ยวแรง ทำให้ถนนลำเลียงถูกกัดเซาะจนขาดอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน ซึ่งหากมองจากภาพถ่ายมุมสูงตามภาพที่เห็นนี้

แนวเส้นสีเขียวเป็น "แนวทางรถไฟ" ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง เป็นทางตัดไม่ใช่เป็นการถมดินคันทาง และไม่ได้เป็นเส้นทางระบายน้ำ หรือ ขวางทางน้ำแต่อย่างใด

แนวเส้นสีฟ้าเป็น "คลองแม่กา" พื้นที่สีแดงเป็น "บริเวณหอพักที่คลองแม่กาไหลผ่าน" เมื่อมีปริมาณน้ำหลากล้นคลอง และมีสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำ น้ำไหลได้ไม่สะดวกจึงเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน

กระทบจากเหตุน้ำท่วม รวมถึงนำเครื่องจักรไปช่วยขุดลอกคูคลอง และลอกท่อระบายน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำขัง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย