เจ็บป่วยรักษาฟรี! วิธีสมัครบัตรทอง พร้อมเช็กสิทธิง่ายๆ ที่นี่

View icon 23.9K
วันที่ 16 ส.ค. 2567
เกาะกระแสออนไลน์
แชร์
เจ็บป่วยรักษาฟรี! บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกที่ วิธีสมัครบัตรทอง คุณสมบัติอย่างไร เช็กสิทธิด้วยตัวเองง่ายๆ 

"บัตรทอง" หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่คุ้นเคยในชื่อ "บัตร 30 บาท" คือ บัตรที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. ออกให้คนไทยทุกคนได้ใช้ในการรักษาฟรี ยกเว้นว่าจะมีสิทธิประกันสังคม หรือบัตรข้าราชการอื่น ๆ

ใครบ้างมีสิทธิ ถือ "บัตรทอง"
ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทอง จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.บุคคลที่มีสัญญาชาติไทย มีเลขบัตรประจำตัวประชาบน 13 หลัก
2.ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

ผู้ที่ไม่สามารถถือสิทธิ "บัตรทอง"
1.ถือสิทธิประกันสังคม
2.ถือสิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
3.ถือสิทธิรักษาของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
4.ถือสิทธิรักษา พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ

ถือ"บัตรทอง" ได้สิทธิรักษาอะไรบ้าง
1.การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น
-การตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะเสี่ยง
-การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพ
-การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน
2.การตรวจวินิจฉัยโรค ตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรงเรื้อรัง
3.การตรวจและการรับฝากครรภ์
4.การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
5.ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลัก และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
6.การทำคลอด ใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
7.การพักรักษาตัวในหน่วยบริการ
8.การดูแลเด็กแรกเกิด
9.บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
10.บริการพาหนะรับส่งคนพิการ
11.การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
12.บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
13.บริการสาธารสุขอื่น ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
14.บริการหมอครอบครัว (หมอในชุมชน) รับบริการที่หน่วยบริการไหนก็ได้ ทั่วประเทศ
15.ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
16.บริการยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
17.การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
18.บริการตรวจคัดกรองโรคหายากในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry
19.การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก
20.บริการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) สำหรับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
21.บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
22.บริการตรวจคัดกรองคู่หญิงตั้งครรภ์ 2 รายการ คือ ธาลัสซีเมีย และ เชื้อซิฟิลิส
23.ขยายบริการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องล้างไต เกือบ 1,300 เครื่อง สำหรับให้บริการทั่วประเทศ

66bf0ece7afda8.28376926.jpg

"บัตรทอง" ไม่ครอบคลุมการรักษาอะไรบ้าง
1.ศัลยกรรมเพื่อความงาม โดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์
2.การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากความเห็นทางการแพทย์
3.การรักษาที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง
4.การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตาม บัญชีแนบท้ายที่สปสช. กำหนด
5.บริการทางการแพทย์อื่น ตามกำหนดของ สปสช.

ทำ "บัตรทอง" ใช้เอกสารอะไรบ้าง ออนไลน์ได้หรือไม่
หากต้องการสมัครสิทธิ "บัตรทอง"หรือ "บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ให้เตรียมเอกสาร ดังนี้
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
2.สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านจะต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หากเป็นบ้านเช่า หรือ หอพัก
3.หลักฐานอื่่น ๆ เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้านที่แสดงว่า ผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง
4.แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ

สมัคร "บัตรทอง" ที่ไหนได้บ้าง
1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ในวัน-เวลาราชการ
2.โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน ในวัน-เวลาราชการ
3.ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ในวัน-เวลาราชการ
4.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 ตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย ในวัน-เวลาราชการ

66bf0ecdc47c83.19574044.jpg

วิธีสมัคร "บัตรทอง" ผ่านออนไลน์
1.เตรียม บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เอาไว้ให้พร้อมสมัครใช้งาน
2.ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "สปสช."  ใน Google Play หรือ App Store
3.กดปุ่ม "ลงทะเบียน"
4.กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด "ยอมรับ"
5.กรอกเลขบัตรประชาชน
6.สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
7.เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน

วิธีตรวจสอบสิทธิ "บัตรทอง"
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีช่องทางการตรวจสอบสิทธิ (เช็คสิทธิรักษาพยาบาล) ของตนเองได้ง่ายๆ 4 ช่องทางดังนี้
1. โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2
2. เว็บไซต์ www.nhso.go.th เลือก สำหรับประชาชน เลือก ตรวจสอบสิทธิ 
3. แอปพลิเคชัน สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือก ตรวจสอบสิทธิตนเอง
4. ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR CODE หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล DGA Thailand, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

66bf0eceaec2e9.72648337.jpg