เร่ง สร้างศูนย์เรียนรู้ "อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะในสวนทุเรียน"

View icon 104
วันที่ 11 พ.ค. 2567
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
กรมวิชาการเกษตร เร่ง สร้างศูนย์เรียนรู้ "อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะในสวนทุเรียน" แก้ปัญหาความแปรปรวนภูมิอากาศส่งผลกระทบผลผลิตทุเรียน

วันนี้ (11 พ.ค.67) ดร. ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ซึ่งกำกับดูแลโครงการเกษตรอัจฉริยะ ลงพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องในโครงการเกษตรอัจฉริยะ ในแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร ในจังหวัดระยอง เพื่อหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะที่พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร มาขยายผลเพื่อแก้ไขปัญหาความแปรปรวนของภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกทุเรียนหลักในภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตจากโครงการเกษตรอัจฉริยะ กรมวิชาการเกษตร ในปี 2566 ซึ่งได้วิจัยพัฒนา"อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ (Smart Climate Controller)"แก้ไขปัญหาความแปรปรวนภูมิอากาศในสวนทุเรียนในฤดูกาลผลิต 2567

จากข้อมูลการตรวจรับรอง เพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืชการส่งออกทุเรียนของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ในฤดูกาลผลิต 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 พฤษภาคม 2567 มีการส่งออกจำนวน 1,173 ตู้/ซิปเมนท์ ปริมาณ 19,098.51ตัน มูลค่า 2,735.54 ล้านบาท

ซึ่งผลกระทบของภูมิอากาศมีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพของทุเรียน และทำให้ทุเรียนสุกแก่เร็วกว่าช่วงเวลาที่ได้กำหนดไว้ และคงเหลือผลผลิตหลังช่วงกลางเดือน พฤษภาคมอีกบางส่วนแต่ก็ไม่มาก อาจทำให้
ปริมาณผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรลดลง

จากการตรวจติดตามแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP นางรัฐอรอัญญ์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งได้รับการรับรอง GAP ทุเรียน 6 ไร่ มะพร้าว 11.25 ไร่ ฝรั่ง 3.25 ไร่ เงาะ 2.50 ไร่ และลำไย 4.50 ไร่ ในแปลงทุเรียนของเกษตรกรมีการพัฒนาติดตั้ง "อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ" ร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ จึงมีผลทำให้ทุเรียนในฤดูการผลิต ปี 2567 มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตปกติ แม้จะมีสภาพภูมิอากาศแปรปรวน

เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในภาคตะวันออก เนื่องจากในสวนมีการบริหารจัดการน้ำ ปรับความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบจากความแปรปรวนของภูมิอากาศได้ดี

คณะผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเปรียบเทียบ "อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ" แล้วพบว่าแนวทางและหลักการในการควบคุมภูมิอากาศ คล้ายคลึงกับอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีเป้าหมายในควบคุมการให้น้ำ เพื่อให้ดินมีความขึ้นที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช