วันนี้ (7 ก.พ.67 ) หลังผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Sirianan Prasit" หรือ นพ.ศิริอนันต์ ประสิทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานศัลยกรรม หน่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลยะลา ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า “ผู้หญิงอายุน้อย 30 ต้นๆ ให้ประวัติว่าปวดท้องด้านซ้ายร้าวไปหลังหลายปีเป็นๆหายๆหลายปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาปวดมากกว่าเดิม เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์พบไตซ้ายบวมรุนแรง หลังใส่สายระบายไตพบว่าปัสสาวะกลายเป็นหนองครับ อาการปวดท้อง ปวดหลัง อย่าปล่อยปละละเลยครับ”
คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ปวดท้องเป็นๆหายๆ ระวังไตบวม
ทีมข่าว7HD สอบถามไปยัง นพ.ศิริอนันต์ ประสิทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานศัลยกรรม หน่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลยะลา เปิดเผยว่า ผู้ป่วยรายนี้เขาเข้ารักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการปวดท้องด้านซ้ายทะลุหลัง เป็นมาหลายปี รักษาบ้างไม่รักษาบ้าง ประวัติเคยบอกว่าเป็นนิ่วด้วย เขาปฏิเสธการรักษาตอนนั้น แล้วก็ปวดท้องตลอดบางครั้งก็มีไข้ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีปวดมากขึ้น ก็เลยมาที่โรงพยาบาลชุมชนอีกครั้งหนึ่งทำการตรวจเอกเซย์หรือทีซีสแกน พบว่าไตบวมรุนแรงมาก เลยส่งตัวมาที่โรงพยาบาลยะลา
พบท่อไตตีบตัน หรือติดเชื้อที่ไต ทำให้การปัสสาวะที่ติดเชื้อมันไม่สามารถระบายออกมาได้ ก็เลยกลายเป็นหนองค้างข้างในในไต สาเหตุที่ท่อไตตีบตันก็คาดว่ามาจากการเป็นนิ่ว
ปัสสาวะเรามาจากไตทั้งสองข้าง ไตข้างหนึ่งเสีย เรามีไตอีกข้างหนึ่งที่ช่วยขับของเสีย คนไข้ก็จะปัสสาวะปกติ สีก็จะปกติ ไตที่ติดเชื้อทำให้ปัสสาวะไม่สามารถลงมาได้ คนไข้กลุ่มนี้ก็จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะขุ่น สีเปลี่ยน อาการท่อไตเกิดตีบตันเกิดจากนิ่วที่มันเคยหลุดไปทำให้ท่อไตเป็นแผล เกิดการตีบตัน หรือเกิดจากเป็นมาแต่กำเนิดก็ได้ หรือเกิดจากการฉายแสงเกิด จากเนื้อยุบมดลูกที่เขาเรียกว่าช็อกโกแลตซีส เนื้องอกผิดที่ แต่ส่วนใหญ่ก็คือเกิดจากนิ่วกับท่อไตตีบ
อาการเตือนมันแยกอาการปวดท้องทั่วไปได้ยาก แนะต้องไปตรวจร่างกาย เอกซเรย์เบื้องต้น แต่กระเพาะจะแยกได้เข้าคร่าวๆด้วยตัวเราอยู่ที่ตำแหน่งเราปวดตำแหน่งไหนถ้าลักษณะนิ่วจะปวดท้องทะลุหลัง ถ้าเป็นกล้ามเนื้อก็จะเป็นส่วนมากปวดบริเวณหลังตรงกลางค่อนมาทางด้านล่าง โดยทั่วไปแยกค่อนข้างยาก ปวดแบบไหนกันแน่แนะนำว่าถ้าปวดบ่อยๆ ให้ปรึกษาแพทย์
พร้อมแนะควรดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ คนไข้คนนี้ดื่มน้ำน้อย ความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วตามมาด้วยไตอุดตัน การดื่มน้ำน้อยปัสสาวะมันจะเข้มข้น โดยท่อปัสสาวะผู้หญิงจะสั้นกว่าผู้ชาย ผู้ชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ผู้หญิง 30 เซนติเมตร ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อโรคเข้าไปในในระบบปัสสาวะค่อนข้างง่าย เพราะฉะนั้นถ้าเราดื่มน้ำน้อยเราจะเว้นช่วงในการปัสสาวะค่อนข้างนาน 3-5 ชั่วโมง เชื้อมันก็สามารถเข้าไปเจริญเติบโตในระบบปัสสาวะได้ เติบโตในกระเพาะปัสสาวะได้