ลูกหมีหมาพลัดหลง น้องอัญชันโตเป็นสาวอ้วนตุ้บ

View icon 232
วันที่ 23 ต.ค. 2566
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
น้องอัญชัน ลูกหมีหมาพลัดหลงจากแม่ กว่า 1 ปี จากลูกหมีน้อยผอมโซ โตเป็นสาวอ้วนตุ้บ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย อัปเดตภาพล่าสุด น้องอัญชันกับพี่เลี้ยงคนใหม่

จากลูกหมีน้อยที่พลัดหลงกับแม่ สู่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย เจ้าหน้าที่ได้ดูแลน้องอัญชัญมานานกว่า 1 ปี โดยมีพ่อแม่อุปถัมภ์ช่วยกันบริจาคนมสำหรับเลี้ยงดูสัตว์ป่าพลัดหลง น้องอัญชับจากหมีน้อยตัวเล็กๆ ผอมโซจนตอนนี้เป็นสาวอ้วนตุ้บ โดยล่าสุดวันนี้ (23 ต.ค.66) สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย อัปเดตภาพของน้องอัญชัน ถ่ายรูปคู่กับพี่เลี้ยงคนใหม่ของเขา ดูรักกันๆ พี่เลี้ยงคนใหม่ตามใจ พาเดินเล่นทุกวัน

ย้อยไปเมื่อวันที่ 9 ก.ย.65 เพจสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย ต.สามพระยา. อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี แจ้งว่าได้รับลูกหมีหมา เพศเมีย พลัดหลงกับแม่ มาดูแล น้องอัญชันอยู่ง่ายกินง่ายแถมหยิบขวดนมดูดเองได้ ปีนต้นไม้เก่ง ขี้เล่น ขี้อ้อน ความน่ารักซุกซน ทำให้ "น้องอัญชัน"  เป็นขวัญใจของพี่ ๆ เจ้าหน้าที่

สำหรับหมีหมา หรือ Malayan Sun Bear (Helarctos malayanus) เป็นหมีขนาดเล็กที่สุด มีลักษณะหูเล็กกลม ขนสั้นและบาง สีดำทั้งตัว ใต้คอเป็นรูปตัวยูสีเหลือง และจะเปลี่ยนเป็นสีขาว บริเวณหน้าตั้งแต่ตาไปจนถึงปลายจมูกมีสีค่อนข้างขาว หรือน้ำตาลอ่อน นิ้วและเล็บทั้ง 5 ยาว และมีลิ้นยาว ส่วนใหญ่มักพบในเมียนมา อินโดจีน ไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว และภาคใต้ของจีน โดยในประเทศไทยจะพบมากทางภาคใต้ ชอบอยู่ในป่าพื้นที่ต่ำกว่าหมีควาย เช่น ป่าเต็งรัง และป่าดิบชื้น

อาหารของหมีหมา เป็นลูกไม้ ใบไม้อ่อน สัตว์เล็ก ๆ แมลงรวมทั้งไส้เดือน และที่ชอบมากที่สุดคือน้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังชอบกินเนื้ออ่อนของมะพร้าว ซึ่งทำความเสียหายให้กับสวนมะพร้าวได้มาก

หมีหมาจะมีสายตาไม่ค่อยดีคล้ายหมีควาย แต่จมูกมีประสิทธิภาพดีมาก ปกติหมีหมาหากินกลางคืน บางครั้งก็ออกหากินกลางวัน มักชอบหากินเป็นคู่อยู่ในป่าทึบ ไม่ชอบอยู่ตามเขา มีนิสัยดุร้ายกว่าหมีควาย โมโหง่าย และขึ้นต้นไม้เก่งกว่าหมีควาย ชอบนอนบนต้นไม้หรือตามโพรงไม้สูงๆ โดยหักใบไม้มากองเป็นพื้นที่เขตและนอนทับไว้ ไม่ชอบนอนพื้นดิน บางครั้งร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่ากระโชก เป็นที่มาให้เรียกว่า “หมีหมา” เวลาสงสัยหรือได้กลิ่นแปลกปลอมจะลุกขึ้นยืน 2 ขา และชูจมูกสูดดม

“หมีหมา” เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เกือบอยู่ในสข่ายใกล้ศูนย์พันธุ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง