ผู้ประกันตน ม.33,39,40 อัปเดต เดือนตุลาคม 66 ต้องจ่ายสมทบประกันสังคมกี่บาท

View icon 16.0K
วันที่ 9 ต.ค. 2566
เกาะกระแสออนไลน์
แชร์
ผู้ประกันตน ม.33,39,40 อัปเดต เดือนตุลาคม 66 ต้องจ่ายสมทบประกันสังคมกี่บาท

อัปเดตเงินสมทบประกันสังคม เดือนตุลาคม 2566 ผู้ประกันตนต้องจ่ายเท่าไหร่ แต่ละมาตราจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากัน โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แบ่งผู้ประกันตนเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้าง พนักงานประจำ
2.ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ คนที่เคยเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม จึงสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยสมัครใจ
3.ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า ฟรีแลนซ์

ประกันสังคมเดือนตุลาคม 2566 จ่ายสมทบกี่บาท?

ผู้ประกันตนมาตรา 33
นายจ้างและลูกจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตรา 5% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งหากใครมีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายสมทบเดือน ต.ค.66 นี้ เป็นจำนวนเงิน 750 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 39
เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม 432 บาทต่อเดือน โดยเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 สามารถเลือกจ่ายเงินสมทบได้  3 ทางเลือก คือ
-ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
-ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
ทางเลือกที่ 3 มี 3 เลือก ดังนี้
-ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 100 บาท)
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)
ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) จ่ายเงินสมทบ 350 บาท/เดือน (จ่ายเอง 200 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน