เผยภาพทางช้างเผือกหลังการสำรวจครั้งใหญ่ประสบผลสำเร็จ

View icon 44
วันที่ 26 ม.ค. 2566
รอบรั้วรอบโลก
แชร์
ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นภาพถ่ายของกาแล็คซีทางช้างเผือก ที่ถ่ายโดยกล้องพลังงานมืดคุณภาพสูง (Dark Energy Camera) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และถูกนำมาใช้ในโครงการสำรวจอวกาศ ของนัวร์แล็ป (NoirLab)โดยภาพถ่ายได้เผยให้เห็นรายละเอียดอื่นๆ ในกาแล็คซีทางช้างเผือกมากที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา ซึ่งประกอบไปด้วยวัตถุท้องฟ้ากว่า 3,300 ล้านชิ้น กับดวงดาวอีกแสนล้านดวง รวมทั้งเมฆฝุ่นสีดำ และก๊าซต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่ว โดยการถ่ายภาพครั้งนี้ ใช้เวลานานกว่า 2 ปี ในการเก็บรวบรวม และศึกษาข้อมูลจำนวนมาก ก่อนจะได้ผลงานที่สมบูรณ์ชิ้นนี้

นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เปิดเผยว่า จากโครงการสำรวจดังกล่าวสามารถสร้างแผนที่โครงสร้างสามมิติของดวงดาว และฝุ่นในทางช้างเผือกได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้จะมีความท้าทาย แต่ก็ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถเข้าใจทางช้างเผือกได้มากขึ้น และต่อยอดสู่การศึกษาอื่น ๆ ได้อีกมากมายในอนาคต ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้ข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนี้ ทำนายเบื้องหลังการเกิดของดวงดาวต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย