ค้านเก็บภาษีบุหรี่หลายอัตรา ไม่ช่วยแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน

ภาษีบุหรี่หลายอัตรา ไม่แก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน ไม่ช่วยเพิ่มรายได้ หวั่นยิ่งจะเปิดโอกาสให้นำเข้าบุหรี่ต่างประเทศราคาถูก มาแข่งขัน ส่งเสริมให้คนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น แนะเก็ลภาษีอัตราเดียว 40% และภาษีปริมาณ 1.2 บาท/มวน
วันนี้ (24 เม.ย.68) รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากที่มีข่าวว่ากรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ เนื่องจากอัตราภาษียาสูบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเกือบ 4 ปีแล้ว ที่ผ่านมาพบว่ารายได้จากภาษียาสูบที่รัฐบาลเก็บได้มีแนวโน้มลดลงจาก 64,200 ล้านบาท ในปี 2564 เหลือ 51,248 ล้านบาท ในปี 2567 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี
หากย้อนไปดูการปรับอัตราภาษียาสูบของไทย พบว่าเริ่มมีปัญหาตั้งแต่มีการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีจากอัตราเดียวเป็นแบบสองอัตรา (2-tier) เมื่อปี 2560 ซึ่งก่อนหน้านี้รายได้ภาษียาสูบของไทยเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจาก 13,636 ล้านบาท ในปี 2533 เพิ่มเป็น 68,603 บาท ในปี 2560 ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยก็ลดลงจาก 32% เหลือ 19.1%
รศ.ดร.พญ.เริงฤดี กล่าวต่อว่า เมื่อปี 2561-2562 องค์การอนามัยโลกเคยวิเคราะห์ข้อมูลภาษียาสูบของไทย และเสนอต่อกรมสรรพสามิตว่า ไทยควรปรับอัตราภาษีเป็นแบบอัตราเดียวที่ร้อยละ 40 และภาษีปริมาณที่ 1.2 บาทต่อมวน โดยระบุอีกว่า ภาษีแบบหลายอัตราไม่ช่วยให้ ยสท. มีรายได้ดีขึ้น แต่ตรงกันข้ามจะช่วยบริษัทบุหรี่ต่างชาติเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และองค์การอนามัยโลกย้ำว่า ภาษีแบบหลายอัตราจะส่งผลเสียหลายด้าน เช่น จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ที่ราคาถูกกว่าแทนที่จะเลิกสูบ รัฐสูญเสียรายได้ และทำให้มีการแทรกแซงจากบริษัทบุหรี่เพื่อให้คงอัตราภาษีราคาถูกให้อยู่ในระดับต่ำ
ด้าน ศ.พน.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า ยสท. เสนอปรับแก้การอัตราภาษีบุหรี่จากปัจจุบันจัดเก็บ 2 อัตรา เป็น 3 อัตรานั้น เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเป็นการก้าวถอยหลัง สวนทางกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ทยอยปรับอัตราภาษีให้เหลืออัตราเดียว การที่ ยสท. เสนอให้ปรับอัตราภาษีเป็น 3 อัตรา เพื่อให้อัตราล่างต่ำลงจะทำให้ราคาขายของบุหรี่ ไม่แตกต่างจากราคาบุหรี่หนีภาษีมากเกินไป ประเด็นนี้จะเปิดโอกาสให้บุหรี่ต่างประเทศนำเข้าบุหรี่ราคาถูก เพื่อมาแข่งขันกับบุหรี่ของ ยสท. เช่นเดียวกับที่เคยปรับจาก 1 อัตรา เป็น 2 อัตรา เมื่อปี 2560 ที่ทำให้ ยสท. เสียส่วนแบ่งตลาดไปมาก ขณะที่รายได้จากภาษีก็ลดลงอย่างมากด้วย
“การแก้ปัญหาบุหรี่หนีภาษี ต้องแก้ด้วยการปรับปรุงระบบการควบคุมบุหรี่หนีภาษี ไม่ใช่แก้ด้วยการลดระดับภาษี หรือแก้ให้มีภาษีหลายอัตราอย่าง เพราะราคาบุหรี่ที่ถูกลงจะทำให้คนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น สุดท้ายจะเพิ่มภาระงบประมาณในการรักษาคนที่ป่วยจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเราจะแบกรับไม่ไหวอยู่แล้ว” ศ.นพ ประกิต กล่าว
วันนี้ (24 เม.ย.68) รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากที่มีข่าวว่ากรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ เนื่องจากอัตราภาษียาสูบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเกือบ 4 ปีแล้ว ที่ผ่านมาพบว่ารายได้จากภาษียาสูบที่รัฐบาลเก็บได้มีแนวโน้มลดลงจาก 64,200 ล้านบาท ในปี 2564 เหลือ 51,248 ล้านบาท ในปี 2567 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี
หากย้อนไปดูการปรับอัตราภาษียาสูบของไทย พบว่าเริ่มมีปัญหาตั้งแต่มีการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีจากอัตราเดียวเป็นแบบสองอัตรา (2-tier) เมื่อปี 2560 ซึ่งก่อนหน้านี้รายได้ภาษียาสูบของไทยเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจาก 13,636 ล้านบาท ในปี 2533 เพิ่มเป็น 68,603 บาท ในปี 2560 ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยก็ลดลงจาก 32% เหลือ 19.1%
รศ.ดร.พญ.เริงฤดี กล่าวต่อว่า เมื่อปี 2561-2562 องค์การอนามัยโลกเคยวิเคราะห์ข้อมูลภาษียาสูบของไทย และเสนอต่อกรมสรรพสามิตว่า ไทยควรปรับอัตราภาษีเป็นแบบอัตราเดียวที่ร้อยละ 40 และภาษีปริมาณที่ 1.2 บาทต่อมวน โดยระบุอีกว่า ภาษีแบบหลายอัตราไม่ช่วยให้ ยสท. มีรายได้ดีขึ้น แต่ตรงกันข้ามจะช่วยบริษัทบุหรี่ต่างชาติเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และองค์การอนามัยโลกย้ำว่า ภาษีแบบหลายอัตราจะส่งผลเสียหลายด้าน เช่น จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ที่ราคาถูกกว่าแทนที่จะเลิกสูบ รัฐสูญเสียรายได้ และทำให้มีการแทรกแซงจากบริษัทบุหรี่เพื่อให้คงอัตราภาษีราคาถูกให้อยู่ในระดับต่ำ
ด้าน ศ.พน.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า ยสท. เสนอปรับแก้การอัตราภาษีบุหรี่จากปัจจุบันจัดเก็บ 2 อัตรา เป็น 3 อัตรานั้น เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเป็นการก้าวถอยหลัง สวนทางกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ทยอยปรับอัตราภาษีให้เหลืออัตราเดียว การที่ ยสท. เสนอให้ปรับอัตราภาษีเป็น 3 อัตรา เพื่อให้อัตราล่างต่ำลงจะทำให้ราคาขายของบุหรี่ ไม่แตกต่างจากราคาบุหรี่หนีภาษีมากเกินไป ประเด็นนี้จะเปิดโอกาสให้บุหรี่ต่างประเทศนำเข้าบุหรี่ราคาถูก เพื่อมาแข่งขันกับบุหรี่ของ ยสท. เช่นเดียวกับที่เคยปรับจาก 1 อัตรา เป็น 2 อัตรา เมื่อปี 2560 ที่ทำให้ ยสท. เสียส่วนแบ่งตลาดไปมาก ขณะที่รายได้จากภาษีก็ลดลงอย่างมากด้วย
“การแก้ปัญหาบุหรี่หนีภาษี ต้องแก้ด้วยการปรับปรุงระบบการควบคุมบุหรี่หนีภาษี ไม่ใช่แก้ด้วยการลดระดับภาษี หรือแก้ให้มีภาษีหลายอัตราอย่าง เพราะราคาบุหรี่ที่ถูกลงจะทำให้คนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น สุดท้ายจะเพิ่มภาระงบประมาณในการรักษาคนที่ป่วยจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเราจะแบกรับไม่ไหวอยู่แล้ว” ศ.นพ ประกิต กล่าว
Gallery
