เตรียมออกหมายจับเพิ่ม ขบวนการทุจริตสอบ
ห้องข่าวภาคเที่ยง - กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่กำลังถูกจับตามอง หลังจากที่ตำรวจไซเบอร์กำลังขยายผลประเด็นเรื่องเว็บฯ พนัน แต่กลับไปเจอหลักฐานเรื่องการทุจริตสอบ จนนำไปสู่การจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว 1 คน และอีก 2 อดีตตำรวจที่ชิงเข้ามอบตัวก่อน ทีนี้ก็จะยังเหลืออีก 2 คน ที่มีเป้าว่าจะต้องไปตามตัวมาดำเนินคดีด้วย
สอบปากคำไปอย่างมาราธอนนานถึงกว่า 10 ชั่วโมง ก่อนที่ นางขนิษฐา หรือ "ดร.นิด" จะเดินทางกลับ โดยไม่ตอบคำถามใด ๆ กับสื่อมวลชน เช่นเดียวกับอดีตตำรวจทั้ง 2 คน ที่หลังสอบปากคำ แจ้งข้อกล่าวหาเสร็จแล้ว ก็ปล่อยตัวกลับ โดยไม่ต้องยื่นหลักทรัพย์ เพราะเป็นการมาพบก่อนที่จะออกหมายเรียกหรือหมายจับในคดีนี้
จากการรวบรวมพยานหลักฐาน ตำรวจเจอว่า คดีนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 5 คน เป็นอดีตตำรวจ 3 คน นักวิชาการ 1 คน ซึ่งก็คือ ดร.นิด และประชาชน 1 คน
หลักฐานที่เจอ พบว่าข้อสอบที่เป็นปัญหาคือวิชา "สัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" วิชานี้มีอาจารย์ 2 คน ต้องสอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 คะแนน รวม 100 คะแนน ซึ่งการสอบผ่านวิชานี้ต้องได้ 50 คะแนนขึ้นไป
ผลการสอบครั้งแรก "อดีตตำรวจยศนายพล" ได้ 0 คะแนน ส่วนการสอบครั้งที่ 2 ได้แค่ 45 คะแนน แล้วมีการปัดคะแนน จนสอบผ่านในรายวิชาดังกล่าว
จุดที่ยังมีความขัดแย้งไม่ตรงกัน คือ คำให้การของเจ้าหน้าที่คุมสอบ และ "ดร.นิด" เจ้าหน้าที่คุมสอบอ้างว่า ถูก "ดร.นิด" ขโมยข้อสอบไป แต่ "ดร.นิด" อ้างว่า เจ้าหน้าที่คุมสอบเป็นคนเอาไปให้ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" เอง เพราะต้องการผูกสัมพันธ์ในฐานะคนที่มาจากภาคเดียวกัน
กับอีกกระแสข่าวบอกว่า หลังจากที่ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" พยายามขอเลื่อนสอบครั้งแล้วครั้งเล่า โดยอ้างเรื่องภารกิจ จนเหลือเพียงคนเดียว ในวันสอบนั้น "ดร.นิด" จะเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ เพื่อแอบขโมยเอาข้อสอบไปให้ "ทนายความ" คนหนึ่ง ช่วยหาคำตอบ
แล้วมีคนสนิทของ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" นำเฉลยมาให้ เพื่อให้ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" นำไปกรอกแล้วส่งคำตอบอีกที ซึ่งตำรวจไซเบอร์อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดูความจริงในเรื่องนี้ รวมถึงจะนำไปใช้ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่เหลืออีก 2 คน
มีคำแถลงการณ์จากคณะนิติศาสตร์ ว่า รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางคณะฯ ได้รับการประสานจากตำรวจไซเบอร์ครั้งแรก 6 เมษายน ก็ได้ให้ความร่วมมือเรื่อยมา จนยืนยันได้ว่า ผู้ที่ถูกจับกุมไม่ใช่ศิษย์เก่า และไม่ได้เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง หากพบมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษา ก็จะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยต่อไป
หลายคนสงสัยว่า กรณีแบบนี้คนที่ได้รับปริญญาไปแล้ว หากพบว่าผิดจริง จะต้องริบเอาปริญญาบัตรนั้นคืน หรือไม่ ? ถ้าว่ากันตามข้อบังคับว่าด้วยการสอบฯ การทุจริตในการสอบถือเป็นความผิดร้ายแรง มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัย รวมถึงการเพิกถอนปริญญาบัตรได้
ในการแถลงข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อซักครู่ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวก็พยายามสอบถามข้อเท็จจริงในทางคดี ได้รับการยืนยันว่า เป็นการตรวจสอบขยายผลตามพยานหลักฐาน เส้นทางการเงินของ "มินนี่" ผู้ต้องหาคดีเว็บฯ พนันออนไลน์ ที่ตอนนี้ตัวยังอยู่ในเรือนจำ
สอบปากคำไปอย่างมาราธอนนานถึงกว่า 10 ชั่วโมง ก่อนที่ นางขนิษฐา หรือ "ดร.นิด" จะเดินทางกลับ โดยไม่ตอบคำถามใด ๆ กับสื่อมวลชน เช่นเดียวกับอดีตตำรวจทั้ง 2 คน ที่หลังสอบปากคำ แจ้งข้อกล่าวหาเสร็จแล้ว ก็ปล่อยตัวกลับ โดยไม่ต้องยื่นหลักทรัพย์ เพราะเป็นการมาพบก่อนที่จะออกหมายเรียกหรือหมายจับในคดีนี้
จากการรวบรวมพยานหลักฐาน ตำรวจเจอว่า คดีนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 5 คน เป็นอดีตตำรวจ 3 คน นักวิชาการ 1 คน ซึ่งก็คือ ดร.นิด และประชาชน 1 คน
หลักฐานที่เจอ พบว่าข้อสอบที่เป็นปัญหาคือวิชา "สัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" วิชานี้มีอาจารย์ 2 คน ต้องสอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 คะแนน รวม 100 คะแนน ซึ่งการสอบผ่านวิชานี้ต้องได้ 50 คะแนนขึ้นไป
ผลการสอบครั้งแรก "อดีตตำรวจยศนายพล" ได้ 0 คะแนน ส่วนการสอบครั้งที่ 2 ได้แค่ 45 คะแนน แล้วมีการปัดคะแนน จนสอบผ่านในรายวิชาดังกล่าว
จุดที่ยังมีความขัดแย้งไม่ตรงกัน คือ คำให้การของเจ้าหน้าที่คุมสอบ และ "ดร.นิด" เจ้าหน้าที่คุมสอบอ้างว่า ถูก "ดร.นิด" ขโมยข้อสอบไป แต่ "ดร.นิด" อ้างว่า เจ้าหน้าที่คุมสอบเป็นคนเอาไปให้ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" เอง เพราะต้องการผูกสัมพันธ์ในฐานะคนที่มาจากภาคเดียวกัน
กับอีกกระแสข่าวบอกว่า หลังจากที่ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" พยายามขอเลื่อนสอบครั้งแล้วครั้งเล่า โดยอ้างเรื่องภารกิจ จนเหลือเพียงคนเดียว ในวันสอบนั้น "ดร.นิด" จะเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ เพื่อแอบขโมยเอาข้อสอบไปให้ "ทนายความ" คนหนึ่ง ช่วยหาคำตอบ
แล้วมีคนสนิทของ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" นำเฉลยมาให้ เพื่อให้ "อดีตตำรวจ ยศนายพล" นำไปกรอกแล้วส่งคำตอบอีกที ซึ่งตำรวจไซเบอร์อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดูความจริงในเรื่องนี้ รวมถึงจะนำไปใช้ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่เหลืออีก 2 คน
มีคำแถลงการณ์จากคณะนิติศาสตร์ ว่า รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางคณะฯ ได้รับการประสานจากตำรวจไซเบอร์ครั้งแรก 6 เมษายน ก็ได้ให้ความร่วมมือเรื่อยมา จนยืนยันได้ว่า ผู้ที่ถูกจับกุมไม่ใช่ศิษย์เก่า และไม่ได้เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง หากพบมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษา ก็จะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยต่อไป
หลายคนสงสัยว่า กรณีแบบนี้คนที่ได้รับปริญญาไปแล้ว หากพบว่าผิดจริง จะต้องริบเอาปริญญาบัตรนั้นคืน หรือไม่ ? ถ้าว่ากันตามข้อบังคับว่าด้วยการสอบฯ การทุจริตในการสอบถือเป็นความผิดร้ายแรง มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัย รวมถึงการเพิกถอนปริญญาบัตรได้
ในการแถลงข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อซักครู่ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวก็พยายามสอบถามข้อเท็จจริงในทางคดี ได้รับการยืนยันว่า เป็นการตรวจสอบขยายผลตามพยานหลักฐาน เส้นทางการเงินของ "มินนี่" ผู้ต้องหาคดีเว็บฯ พนันออนไลน์ ที่ตอนนี้ตัวยังอยู่ในเรือนจำ
Gallery
