SKY แถลงโต้เหล็กไม่ได้มาตรฐาน กระแสชี้นำสังคมส่งผลกระทบร้ายแรง

SKY ส่งตัวแทนฝ่ายกฎหมายแถลงโต้เหล็กไม่ได้มาตรฐาน ชี้ตรวจซ้ำผ่านเกณฑ์ เรียกร้องความเป็นธรรมหลังถูกสั่งปิดโรงงาน กระแสชี้นำสังคมส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงอย่างร้ายแรง ตลอด 5 ปี SKY เสียภาษีกว่า 856 ล้าน
วันนี้ (21 เม.ย.68) บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด หรือ SKY แถลงข่าวชี้แจงข้อกล่าวหากรณีเหล็กข้ออ้อยของบริษัทถูกระบุว่าไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ มอก. และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อาคารสำนักงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม
ในการแถลงข่าวครั้งนี้ SKY ได้ส่งตัวแทนฝ่ายกฎหมาย 3 คน ได้แก่ นายปิยะพงศ์ คงมะลวน นายสุรศักดิ์ วีระกุล และนางสาวปัทมากร ภิญโญชัยพลกุล ร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชน โดยยืนยันว่าเหล็กทุกเส้นของบริษัทผลิตภายใต้มาตรฐาน มอก. และได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ผ่านการส่งเสริมจาก BOI และมีระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ที่ตรวจสอบได้
ประเด็นเรื่องค่าโบรอนในเหล็กเส้น ซึ่ง สมอ. อ้างว่าเกินเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทชี้แจงว่าในสองครั้งที่หน่วยงานรัฐส่งตัวอย่างเหล็กไปตรวจที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยนั้น ห้องปฏิบัติการมีขีดความสามารถในการตรวจค่าโบรอนเพียงระดับ 0.0009–0.0025 ในขณะที่เกณฑ์ของ มอก. กำหนดไว้ไม่เกิน 0.0008 ซึ่งหมายความว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ไม่สามารถวัดค่าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดได้ และในรายงานผลการทดสอบก็มีการระบุอย่างชัดเจนว่า “ไม่อยู่ในขอบข่ายการรับรองของห้องปฏิบัติการ”
เพื่อยืนยันผล บริษัทจึงนำเหล็กล็อตเดียวกันที่ผลิตจากเตาหลอมเดียวกันและอยู่ในมัดเดียวกับเหล็กที่ถูกตรวจ ไปทดสอบซ้ำที่สถาบันยานยนต์ ซึ่งมีเครื่องมือครอบคลุมการวัดค่าที่ละเอียดกว่า พบว่าเหล็กทั้งหมดผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ มอก. อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สมอ. ปฏิเสธไม่รับผลการตรวจดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการตรวจครั้งที่ 3 ซึ่งขัดกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้
SKY ยังยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ขายเหล็กโดยตรงให้กับโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. โดยเหล็กที่ใช้ในโครงการนั้นมาจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัท และไม่มีการจำหน่ายตรงกับเจ้าของโครงการแต่อย่างใด ทั้งนี้ เหล็กของ SKY ทุกเส้นมีการตีตรา “SKW” ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงโรงงานผลิตได้
ส่วนกรณีที่โรงงานของ SKY ในจังหวัดระยองถูกคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 บริษัทชี้แจงว่าเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ที่ถังแก๊ส LPG ซึ่งตั้งอยู่นอกสายการผลิตเหล็กโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือคุณภาพสินค้าแต่อย่างใด หลังเกิดเหตุ บริษัทได้รับคำสั่งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ปรับปรุงพื้นที่และจัดทำรายงานทางวิศวกรรม 7 รายการ ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการตามข้อกำหนดครบถ้วนและส่งรายงานให้ตรวจสอบเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม การยื่นขอเปิดสายการผลิตใหม่เพื่อพิสูจน์คุณภาพเหล็กกลับไม่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้บริษัทไม่สามารถกลับมาผลิตได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายสะสม ทั้งด้านต้นทุนการบริหาร และภาระค่าจ้างพนักงานที่ยังต้องจ่ายตามกฎหมาย ทั้งที่ไม่มีรายได้เข้ามาตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทระบุว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา SKY ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมแล้วกว่า 856 ล้านบาท และได้มีการว่าจ้างสำนักงานบัญชีระดับโลกในกลุ่ม Big 4 ดูแลบัญชีของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การบริจาคหน้ากากอนามัย N95 จำนวนกว่า 20 ล้านชิ้น ให้กับโรงพยาบาลและสถานศึกษาในช่วงวิกฤตโควิด-19
ในขณะที่กระแสสังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับที่มาของทุนและข้อกล่าวหาเรื่อง “ทุนจีนเทา” บริษัทปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และชี้ว่าข้อมูลดังกล่าวบิดเบือน ไม่สะท้อนความเป็นจริง โดยขอให้ทุกฝ่ายเคารพกระบวนการตรวจสอบตามขั้นตอนทางกฎหมาย และรอฟังผลสอบสวนจากคณะกรรมการกลางที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น
สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงินจำนวนกว่า 300 ล้านบาทในการวิ่งเต้นหรือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ บริษัทระบุว่าเป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง และกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จดังกล่าว โดยย้ำว่ากระแสการชี้นำสังคมล่วงหน้าได้ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทอย่างร้ายแรง
วันนี้ (21 เม.ย.68) บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด หรือ SKY แถลงข่าวชี้แจงข้อกล่าวหากรณีเหล็กข้ออ้อยของบริษัทถูกระบุว่าไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ มอก. และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อาคารสำนักงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม
ในการแถลงข่าวครั้งนี้ SKY ได้ส่งตัวแทนฝ่ายกฎหมาย 3 คน ได้แก่ นายปิยะพงศ์ คงมะลวน นายสุรศักดิ์ วีระกุล และนางสาวปัทมากร ภิญโญชัยพลกุล ร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชน โดยยืนยันว่าเหล็กทุกเส้นของบริษัทผลิตภายใต้มาตรฐาน มอก. และได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ผ่านการส่งเสริมจาก BOI และมีระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ที่ตรวจสอบได้
ประเด็นเรื่องค่าโบรอนในเหล็กเส้น ซึ่ง สมอ. อ้างว่าเกินเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทชี้แจงว่าในสองครั้งที่หน่วยงานรัฐส่งตัวอย่างเหล็กไปตรวจที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยนั้น ห้องปฏิบัติการมีขีดความสามารถในการตรวจค่าโบรอนเพียงระดับ 0.0009–0.0025 ในขณะที่เกณฑ์ของ มอก. กำหนดไว้ไม่เกิน 0.0008 ซึ่งหมายความว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ไม่สามารถวัดค่าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดได้ และในรายงานผลการทดสอบก็มีการระบุอย่างชัดเจนว่า “ไม่อยู่ในขอบข่ายการรับรองของห้องปฏิบัติการ”
เพื่อยืนยันผล บริษัทจึงนำเหล็กล็อตเดียวกันที่ผลิตจากเตาหลอมเดียวกันและอยู่ในมัดเดียวกับเหล็กที่ถูกตรวจ ไปทดสอบซ้ำที่สถาบันยานยนต์ ซึ่งมีเครื่องมือครอบคลุมการวัดค่าที่ละเอียดกว่า พบว่าเหล็กทั้งหมดผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ มอก. อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สมอ. ปฏิเสธไม่รับผลการตรวจดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการตรวจครั้งที่ 3 ซึ่งขัดกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้
SKY ยังยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ขายเหล็กโดยตรงให้กับโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. โดยเหล็กที่ใช้ในโครงการนั้นมาจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัท และไม่มีการจำหน่ายตรงกับเจ้าของโครงการแต่อย่างใด ทั้งนี้ เหล็กของ SKY ทุกเส้นมีการตีตรา “SKW” ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงโรงงานผลิตได้
ส่วนกรณีที่โรงงานของ SKY ในจังหวัดระยองถูกคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 บริษัทชี้แจงว่าเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ที่ถังแก๊ส LPG ซึ่งตั้งอยู่นอกสายการผลิตเหล็กโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือคุณภาพสินค้าแต่อย่างใด หลังเกิดเหตุ บริษัทได้รับคำสั่งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ปรับปรุงพื้นที่และจัดทำรายงานทางวิศวกรรม 7 รายการ ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการตามข้อกำหนดครบถ้วนและส่งรายงานให้ตรวจสอบเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม การยื่นขอเปิดสายการผลิตใหม่เพื่อพิสูจน์คุณภาพเหล็กกลับไม่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้บริษัทไม่สามารถกลับมาผลิตได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายสะสม ทั้งด้านต้นทุนการบริหาร และภาระค่าจ้างพนักงานที่ยังต้องจ่ายตามกฎหมาย ทั้งที่ไม่มีรายได้เข้ามาตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทระบุว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา SKY ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมแล้วกว่า 856 ล้านบาท และได้มีการว่าจ้างสำนักงานบัญชีระดับโลกในกลุ่ม Big 4 ดูแลบัญชีของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การบริจาคหน้ากากอนามัย N95 จำนวนกว่า 20 ล้านชิ้น ให้กับโรงพยาบาลและสถานศึกษาในช่วงวิกฤตโควิด-19
ในขณะที่กระแสสังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับที่มาของทุนและข้อกล่าวหาเรื่อง “ทุนจีนเทา” บริษัทปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และชี้ว่าข้อมูลดังกล่าวบิดเบือน ไม่สะท้อนความเป็นจริง โดยขอให้ทุกฝ่ายเคารพกระบวนการตรวจสอบตามขั้นตอนทางกฎหมาย และรอฟังผลสอบสวนจากคณะกรรมการกลางที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น
สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงินจำนวนกว่า 300 ล้านบาทในการวิ่งเต้นหรือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ บริษัทระบุว่าเป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง และกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จดังกล่าว โดยย้ำว่ากระแสการชี้นำสังคมล่วงหน้าได้ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทอย่างร้ายแรง
Gallery
