เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเนื้อ ฮือค้านนโยบายนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ

เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเนื้อฮือค้านนโยบาย รวมตัวหน้า ก.เกษตรฯ นัดยื่นหนังสือถึงนายกฯอิ๊งค์ เบรกนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ หวั่น กดราคาวัวไทยทรุดจนต้องเลิกอาชีพ
วันนี้ (17 เม.ย. 2568) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมด้วยสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย รวมตัวกันที่ หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายเปิดนำเข้าเนื้อวัวและเครื่องในวัวจากสหรัฐอเมริกา 1 ในมาตรการแลกเปลี่ยนทางการค้า จากนั้นในวันที่ 22 เม.ย.นี้ จะมีการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย เพื่อเรียกร้องให้ยุตินโยบายดังกล่าว
ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจาก จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า หากรัฐบาลเดินหน้านำเข้าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบภายในประเทศ จะซ้ำเติมผู้เลี้ยงวัวเนื้อรายย่อยกว่า 1.4 ล้านครัวเรือน ซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาอย่างหนักจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาขายวัวตกลงต่ำ เหลือเพียง 85 บาทต่อกิโลกรัม จากที่เคยได้ถึง 110 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงก่อนเปิดนำเข้าออสเตรเลีย ส่งผลให้กำไรต่อรอบการเลี้ยงหายไปกว่า 30-40%
“หลายครอบครัวเริ่มขาดสภาพคล่อง บางรายถึงขั้นต้องขายแม่พันธุ์ทิ้ง ยุติอาชีพเลี้ยงวัวที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งที่อุตสาหกรรมโคเนื้อไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 288,000 ล้านบาท วันนี้ไม่ใช่แค่กำไรหาย แต่คือความอยู่รอดของครอบครัวเกษตรกร ตอนนี้มีหนี้สินจากการหมุนเงินไม่ทัน และเริ่มส่งผลกระทบต่อการศึกษาของลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว”
บอกด้วยว่า ผู้บริโภคเองก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน หากมีการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ ซึ่งยังอนุญาตใช้สารเร่งเนื้อแดง ขัดต่อกฎหมายไทยที่ห้ามโดยเด็ดขาด การปล่อยให้เนื้อดังกล่าวเข้าประเทศ จึงอาจกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน และภาพลักษณ์การส่งออกวัวไทยไปยังจีน เวียดนาม และมาเลเซีย ที่ไม่รับสินค้าเนื้อแดงที่มีสารตกค้าง
นอกจากนี้ยังมีเสียงสะท้อนว่า นโยบายนี้สวนทางกับโครงการ “โคแสนล้าน” ของรัฐบาล ที่เคยประกาศยกระดับชีวิตเกษตรกร แต่กลับมาถูกทำลายจากนโยบายที่ไร้การป้องกันผลกระทบภายในประเทศ
“รัฐบาลต้องเลือกระหว่างตัวเลขการค้าบนกระดาษ หรือวิถีชีวิตของเกษตรกรตัวจริงที่เลี้ยงประเทศนี้มาโดยตลอด” ผู้แทนสมาคมโคเนื้อฯ กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (17 เม.ย. 2568) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมด้วยสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย รวมตัวกันที่ หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายเปิดนำเข้าเนื้อวัวและเครื่องในวัวจากสหรัฐอเมริกา 1 ในมาตรการแลกเปลี่ยนทางการค้า จากนั้นในวันที่ 22 เม.ย.นี้ จะมีการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย เพื่อเรียกร้องให้ยุตินโยบายดังกล่าว
ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจาก จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า หากรัฐบาลเดินหน้านำเข้าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบภายในประเทศ จะซ้ำเติมผู้เลี้ยงวัวเนื้อรายย่อยกว่า 1.4 ล้านครัวเรือน ซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาอย่างหนักจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาขายวัวตกลงต่ำ เหลือเพียง 85 บาทต่อกิโลกรัม จากที่เคยได้ถึง 110 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงก่อนเปิดนำเข้าออสเตรเลีย ส่งผลให้กำไรต่อรอบการเลี้ยงหายไปกว่า 30-40%
“หลายครอบครัวเริ่มขาดสภาพคล่อง บางรายถึงขั้นต้องขายแม่พันธุ์ทิ้ง ยุติอาชีพเลี้ยงวัวที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งที่อุตสาหกรรมโคเนื้อไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 288,000 ล้านบาท วันนี้ไม่ใช่แค่กำไรหาย แต่คือความอยู่รอดของครอบครัวเกษตรกร ตอนนี้มีหนี้สินจากการหมุนเงินไม่ทัน และเริ่มส่งผลกระทบต่อการศึกษาของลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว”
บอกด้วยว่า ผู้บริโภคเองก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน หากมีการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ ซึ่งยังอนุญาตใช้สารเร่งเนื้อแดง ขัดต่อกฎหมายไทยที่ห้ามโดยเด็ดขาด การปล่อยให้เนื้อดังกล่าวเข้าประเทศ จึงอาจกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน และภาพลักษณ์การส่งออกวัวไทยไปยังจีน เวียดนาม และมาเลเซีย ที่ไม่รับสินค้าเนื้อแดงที่มีสารตกค้าง
นอกจากนี้ยังมีเสียงสะท้อนว่า นโยบายนี้สวนทางกับโครงการ “โคแสนล้าน” ของรัฐบาล ที่เคยประกาศยกระดับชีวิตเกษตรกร แต่กลับมาถูกทำลายจากนโยบายที่ไร้การป้องกันผลกระทบภายในประเทศ
“รัฐบาลต้องเลือกระหว่างตัวเลขการค้าบนกระดาษ หรือวิถีชีวิตของเกษตรกรตัวจริงที่เลี้ยงประเทศนี้มาโดยตลอด” ผู้แทนสมาคมโคเนื้อฯ กล่าวทิ้งท้าย
Gallery
