นายกฯ อิ๊งค์ เจอแก๊งคอลเซนเตอร์ ขอรับบริจาค
เช้านี้ที่หมอชิต - หลอกไม่เลือกหน้า คำนี้ไม่เกินจริง เมื่อ "นายกฯ อิ๊งค์" ยอมรับตรง ๆ เคยถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอก โดยอ้างเป็นผู้นำประเทศ บอกให้บริจาคบางอย่าง แต่เคราะห์ดีไม่หลงกลเชื่อ แถมยังบอกด้วยว่า สมัยนี้หลอกกัน Advance ขึ้นเรื่อย ๆ
นายกฯ อิ๊งค์ เจอแก๊งคอลเซนเตอร์ ขอรับบริจาค
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยถึงเรื่องนี้บนเวทีเปิดประชุมสัมมนา และมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ว่าตัวเองเคยโดนแก๊งคอลเซนเตอร์โทร.มาหลอก โดยอ้างว่าเป็นผู้นำต่างประเทศ บอกว่า ตนยังไม่ได้บริจาค จนเกือบหลงเชื่อ
พอลงจากเวทีเท่านั้น ไม่รอช้า สื่อรุมถามถึงเรื่องนี้กับนายกฯ พร้อมบอกว่า แก๊งคอลเซนเตอร์สวมรอยได้เนียนมาก ใช้เสียงเอไอเหมือนเป็นผู้นำต่างประเทศ ก่อนจะส่งคลิปมาอีกครั้งว่า ขอให้บริจาคและย้ำว่าไทยเป็นประเทศในอาเซียนที่ยังไม่ได้บริจาคเลย ทำให้รู้สึกว่ากำลังโดนหลอกแน่ ๆ
จ่อถกมาตรการสกัดแก๊งคอลเซนเตอร์
ด้าน พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทราบเรื่องที่นายกฯ ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกแล้ว ซึ่งก็ขอชื่นชมที่ท่านไม่หลงกล โดยในส่วนของตำรวจ ก็จะเชิญเครือข่ายโทรศัพท์หารือถึงแนวทาง และมาตรการในการประสานความร่วมมือกัน ซึ่งต้องการให้เครือข่ายโทรศัพท์ ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ใส่เข้ามาตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ
กสทช.ไฟเขียวรื้อเสาสื่อสารตามชายแดน
ด้าน กสทช. ก็เตรียมลุยรื้อเสาสื่อสารเสาไฟเบอร์ตามแนวชายแดนออก โดยเฉพาะเสาที่ติดตั้งเถื่อน หรือเป็นของผู้ประกอบการไทยที่อาจไปตั้งใกล้พื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีแก๊งคอลเซนเตอร์ฝังตัวอยู่ เช่น ตามแนวชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก, เชียงใหม่, เชียงราย และสระแก้ว แต่จะดำเนินการอย่างรัดกุม ไม่ให้กระทบต่อการใช้สื่อสารของคนในพื้นที่
ช่องโหว่กฎหมาย ยังเอาผิด 2 ค่ายโทรศัพท์ฯ ไม่ได้
ส่วนเรื่องว้าวุ่นของ 2 ค่ายผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ร่วมถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาถึงเกือบ 3 ชั่วโมง สรุปว่าวันนี้ (16 ม.ค.) ทั้ง 2 ค่ายมือถือจะมาให้คำตอบว่า จะถอนแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากเครื่องหรือไม่ เพราะไปบังคับไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายมากำกับ สิ่งที่ทำได้คือ ขอความร่วมมือ แม้แต่ กสทช.ก็ไม่มีกฎหมายจะไปตรวจแอปพลิเคชันที่ติดมากับมือถือได้
ส่วนเรื่องของการประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อ ต้องตรวจสอบว่ามีการให้สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยเกิน 15% หรือไม่ หากไม่เกินก็เอาผิดไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แอปฯ ดังกล่าว ไม่มีมีการขออนุญาตจากทางแบงก์ชาติ ในการติดตั้งแอปพลิเคชันเงินกู้
นางสาวจิราพร ยังบอกถึงการอุดช่องโหว่ของกฎหมายว่า จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยในอนาคตจะมุ่งเน้นป้องกันในเชิงรุก แต่หากประชาชนคนใดได้รับความเสียหาย ก็ร้องเรียนได้ที่ สคบ. โทร.1666 และช่องทางออนไลน์ ถ้าเรื่องไหนใช้กฎหมายของ สคบ.ได้ ก็จะทำทันที
ขณะที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็เตรียมออกกฎ เพื่อกำหนดมาตรการลงซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์แท็บเล็ต ก่อนวางขายด้วย
นายกฯ อิ๊งค์ เจอแก๊งคอลเซนเตอร์ ขอรับบริจาค
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยถึงเรื่องนี้บนเวทีเปิดประชุมสัมมนา และมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ว่าตัวเองเคยโดนแก๊งคอลเซนเตอร์โทร.มาหลอก โดยอ้างว่าเป็นผู้นำต่างประเทศ บอกว่า ตนยังไม่ได้บริจาค จนเกือบหลงเชื่อ
พอลงจากเวทีเท่านั้น ไม่รอช้า สื่อรุมถามถึงเรื่องนี้กับนายกฯ พร้อมบอกว่า แก๊งคอลเซนเตอร์สวมรอยได้เนียนมาก ใช้เสียงเอไอเหมือนเป็นผู้นำต่างประเทศ ก่อนจะส่งคลิปมาอีกครั้งว่า ขอให้บริจาคและย้ำว่าไทยเป็นประเทศในอาเซียนที่ยังไม่ได้บริจาคเลย ทำให้รู้สึกว่ากำลังโดนหลอกแน่ ๆ
จ่อถกมาตรการสกัดแก๊งคอลเซนเตอร์
ด้าน พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทราบเรื่องที่นายกฯ ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกแล้ว ซึ่งก็ขอชื่นชมที่ท่านไม่หลงกล โดยในส่วนของตำรวจ ก็จะเชิญเครือข่ายโทรศัพท์หารือถึงแนวทาง และมาตรการในการประสานความร่วมมือกัน ซึ่งต้องการให้เครือข่ายโทรศัพท์ ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ใส่เข้ามาตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ
กสทช.ไฟเขียวรื้อเสาสื่อสารตามชายแดน
ด้าน กสทช. ก็เตรียมลุยรื้อเสาสื่อสารเสาไฟเบอร์ตามแนวชายแดนออก โดยเฉพาะเสาที่ติดตั้งเถื่อน หรือเป็นของผู้ประกอบการไทยที่อาจไปตั้งใกล้พื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีแก๊งคอลเซนเตอร์ฝังตัวอยู่ เช่น ตามแนวชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก, เชียงใหม่, เชียงราย และสระแก้ว แต่จะดำเนินการอย่างรัดกุม ไม่ให้กระทบต่อการใช้สื่อสารของคนในพื้นที่
ช่องโหว่กฎหมาย ยังเอาผิด 2 ค่ายโทรศัพท์ฯ ไม่ได้
ส่วนเรื่องว้าวุ่นของ 2 ค่ายผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ร่วมถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาถึงเกือบ 3 ชั่วโมง สรุปว่าวันนี้ (16 ม.ค.) ทั้ง 2 ค่ายมือถือจะมาให้คำตอบว่า จะถอนแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากเครื่องหรือไม่ เพราะไปบังคับไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายมากำกับ สิ่งที่ทำได้คือ ขอความร่วมมือ แม้แต่ กสทช.ก็ไม่มีกฎหมายจะไปตรวจแอปพลิเคชันที่ติดมากับมือถือได้
ส่วนเรื่องของการประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อ ต้องตรวจสอบว่ามีการให้สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยเกิน 15% หรือไม่ หากไม่เกินก็เอาผิดไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แอปฯ ดังกล่าว ไม่มีมีการขออนุญาตจากทางแบงก์ชาติ ในการติดตั้งแอปพลิเคชันเงินกู้
นางสาวจิราพร ยังบอกถึงการอุดช่องโหว่ของกฎหมายว่า จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยในอนาคตจะมุ่งเน้นป้องกันในเชิงรุก แต่หากประชาชนคนใดได้รับความเสียหาย ก็ร้องเรียนได้ที่ สคบ. โทร.1666 และช่องทางออนไลน์ ถ้าเรื่องไหนใช้กฎหมายของ สคบ.ได้ ก็จะทำทันที
ขณะที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็เตรียมออกกฎ เพื่อกำหนดมาตรการลงซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์แท็บเล็ต ก่อนวางขายด้วย