อีแร้งตกใส่บ้านคน คาดหมดแรงขณะบินอพยพหนีหนาว
พบอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย สัตว์ป่าคุ้มครองหายาก ตกใส่หลังคาบ้านคน คาดหมดแรงขณะบินอพยพหนีหนาวมาจากที่อื่น
(8 ม.ค.68) ด.ต.ดั้นหลี หมัดอะดั้ม ผบ.หมู่กก.6บก.ปทส.เข้าตรวจสอบหลังรับแจ้งจากชาวบ้านว่า มีนกยักษ์ตกใส่หลังคาชาวบ้านพื้นที่หมู่ 9 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล เมื่อไปถึงพบว่านกยักษ์ดังกล่าวเป็นอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก ลำตัวขนาดใหญ่น้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ความกว้างของปีกทั้ง 2 ข้างเมื่อกางออกประมาณ 2.5 เมตร ตกอยู่ในสวนมะพร้าวห่างจากบ้านเรือนของชาวบ้านไม่กี่เมตร
จากการสอบถามชาวบ้านที่พบเห็น ทราบว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา อีแร้งตัวดังกล่าวได้บินมาตกบนหลังคาบ้านและร่วงลงมาอยู่ในบริเวณสวนมะพร้าวมีสภาพอิดโรยไม่มีเรี่ยวแรง แต่ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บ เชื่อว่าอีแร้งตัวดังกล่าวหน้าจะอพยพหนีหนาวมาจากถิ่นอื่นและหมดแรงร่วงลงดังที่เห็น ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงได้จับใส่กรงนำกลับไปตรวจร่างกายที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา เพื่อส่งมอบต่อไปยังศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโตนงาช้าง จ.สงขลา ดูแลต่อไป
สำหรับอีแร้งสีน้ำตาลจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 951 จัดเป็นอีแร้งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอีแร้งดำหิมาลัย สามารถพบได้แถบเทือกเขาหิมาลัยหรือกระจายอยู่ตามแถบเทือกเขาเอเชียตอนกลางไปจนถึงจีนและไซบีเรีย อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยไม่ใช่นกประจำประเทศไทย แต่เป็นนกอพยพที่ฤดูหนาวจะบินลงใต้มาอาศัยอยู่ยังประเทศไทยเพราะมีอากาศที่อบอุ่นกว่า ส่วนในพื้นที่จ.สตูล เคยมีรายงานว่า พบอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยตัวหนึ่งตกลงในทุ่งนาพื้นที่ ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล เมื่อต้นปี 2558
(8 ม.ค.68) ด.ต.ดั้นหลี หมัดอะดั้ม ผบ.หมู่กก.6บก.ปทส.เข้าตรวจสอบหลังรับแจ้งจากชาวบ้านว่า มีนกยักษ์ตกใส่หลังคาชาวบ้านพื้นที่หมู่ 9 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล เมื่อไปถึงพบว่านกยักษ์ดังกล่าวเป็นอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก ลำตัวขนาดใหญ่น้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ความกว้างของปีกทั้ง 2 ข้างเมื่อกางออกประมาณ 2.5 เมตร ตกอยู่ในสวนมะพร้าวห่างจากบ้านเรือนของชาวบ้านไม่กี่เมตร
จากการสอบถามชาวบ้านที่พบเห็น ทราบว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา อีแร้งตัวดังกล่าวได้บินมาตกบนหลังคาบ้านและร่วงลงมาอยู่ในบริเวณสวนมะพร้าวมีสภาพอิดโรยไม่มีเรี่ยวแรง แต่ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บ เชื่อว่าอีแร้งตัวดังกล่าวหน้าจะอพยพหนีหนาวมาจากถิ่นอื่นและหมดแรงร่วงลงดังที่เห็น ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงได้จับใส่กรงนำกลับไปตรวจร่างกายที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา เพื่อส่งมอบต่อไปยังศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโตนงาช้าง จ.สงขลา ดูแลต่อไป
สำหรับอีแร้งสีน้ำตาลจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 951 จัดเป็นอีแร้งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอีแร้งดำหิมาลัย สามารถพบได้แถบเทือกเขาหิมาลัยหรือกระจายอยู่ตามแถบเทือกเขาเอเชียตอนกลางไปจนถึงจีนและไซบีเรีย อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยไม่ใช่นกประจำประเทศไทย แต่เป็นนกอพยพที่ฤดูหนาวจะบินลงใต้มาอาศัยอยู่ยังประเทศไทยเพราะมีอากาศที่อบอุ่นกว่า ส่วนในพื้นที่จ.สตูล เคยมีรายงานว่า พบอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยตัวหนึ่งตกลงในทุ่งนาพื้นที่ ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล เมื่อต้นปี 2558