น้ำท่วมภูเก็ต ผลจากสภาพอากาศรุนแรง ดร.เสรีเตือนจะเกิดขึ้นอีก

ฝนตกหนัก น้ำท่วมภูเก็ต ดร.เสรีเผยสถานการณ์เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง เมืองขยายตัวบุกรุกพื้นที่สีเขียว เตือนจะเกิดขึ้นอีก น้ำท่วมฉับพลันจากปริมาณฝนตกหนักระยะสั้น (รายวัน) เมื่อไรก็ได้
ฝนตกหนัก น้ำท่วมภูเก็ต วันนี้ (30 มิ.ย.67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC ผู้เชี่ยวชาญ IPCC ช่วยไขคำตอบ เหตุฝนตกหนักที่ จ.ภูเก็ต เช้าวันนี้ (30 มิ.ย.67) วัดปริมาณฝนสะสม 6 ชม. 333 มม. ที่สถานอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน การจราจรทางบก และทางอากาศเป็นอัมพาต

ดร. เสรี ระบุด้วยว่า นี่คือเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 1,000 ปี (ข้อมูลกรมชลประทานที่สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต) ผมได้โพสต์เตือนไปเรื่องภาคใต้ให้คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ฝนตกหนักในเวลาจำกัดแบบนี้ตั้งแต่ต้นปี และจะเกิดขึ้นอีก เหตุการณ์ลักษณะนี้สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง
ประเด็นแรก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์ พฤติกรรมฝนที่ตกจากปริมาณฝนสูงสุดรายวันในอดีต รวมทั้งอนาคตจากแบบจำลอง CMIP6 โดยคณะทำงาน IPCC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แต่ปริมาณฝนรายปีกลับมีแนวโน้มลดลง) และมีความแปรปรวนมากขึ้น และไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ประกอบกับข้อมูลในอดีตปริมาณฝนสูงสุดควรเกิดช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

“นั่นหมายถึงว่าภูเก็ตจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำไหลหลาก ท่วมฉับพลันจากปริมาณฝนตกหนักระยะสั้น (รายวัน) เมื่อไรก็ได้ ในขณะเดียวกันภัยแล้งก็จะเกิดขึ้นจากปริมาณฝนรายปีที่มีแนวโน้มลดลง”
ประเด็นที่ 2 การพัฒนาและขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่บริเวณริมคลองระบายน้ำ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และการใช้ประโยชน์อย่างมาก คลองระบายน้ำตื้นเขิน คับแคบจากการตกตะกอนจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เราอาจจะมีความสุขกับการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพียงชั่วครู่ เราอาจจะนึกถีงความเจริญในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เราลืมไปว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ระบบน้ำกิน น้ำใช้ สภาพอากาศเหมาะสม หากเราละเลยสิ่งเหล่านี้ เราจะมีความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โปรดติดตามองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการลดผลกระทบ และการปรับตัวได้ที่ www.futuretaleslab.com
ฝนตกหนัก น้ำท่วมภูเก็ต วันนี้ (30 มิ.ย.67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC ผู้เชี่ยวชาญ IPCC ช่วยไขคำตอบ เหตุฝนตกหนักที่ จ.ภูเก็ต เช้าวันนี้ (30 มิ.ย.67) วัดปริมาณฝนสะสม 6 ชม. 333 มม. ที่สถานอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน การจราจรทางบก และทางอากาศเป็นอัมพาต

ดร. เสรี ระบุด้วยว่า นี่คือเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 1,000 ปี (ข้อมูลกรมชลประทานที่สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต) ผมได้โพสต์เตือนไปเรื่องภาคใต้ให้คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ฝนตกหนักในเวลาจำกัดแบบนี้ตั้งแต่ต้นปี และจะเกิดขึ้นอีก เหตุการณ์ลักษณะนี้สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง
ประเด็นแรก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์ พฤติกรรมฝนที่ตกจากปริมาณฝนสูงสุดรายวันในอดีต รวมทั้งอนาคตจากแบบจำลอง CMIP6 โดยคณะทำงาน IPCC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แต่ปริมาณฝนรายปีกลับมีแนวโน้มลดลง) และมีความแปรปรวนมากขึ้น และไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ประกอบกับข้อมูลในอดีตปริมาณฝนสูงสุดควรเกิดช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

“นั่นหมายถึงว่าภูเก็ตจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำไหลหลาก ท่วมฉับพลันจากปริมาณฝนตกหนักระยะสั้น (รายวัน) เมื่อไรก็ได้ ในขณะเดียวกันภัยแล้งก็จะเกิดขึ้นจากปริมาณฝนรายปีที่มีแนวโน้มลดลง”
ประเด็นที่ 2 การพัฒนาและขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่บริเวณริมคลองระบายน้ำ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และการใช้ประโยชน์อย่างมาก คลองระบายน้ำตื้นเขิน คับแคบจากการตกตะกอนจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เราอาจจะมีความสุขกับการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพียงชั่วครู่ เราอาจจะนึกถีงความเจริญในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เราลืมไปว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ระบบน้ำกิน น้ำใช้ สภาพอากาศเหมาะสม หากเราละเลยสิ่งเหล่านี้ เราจะมีความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โปรดติดตามองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการลดผลกระทบ และการปรับตัวได้ที่ www.futuretaleslab.com
Gallery


