รู้จัก Cell Broadcast ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความที่หลายประเทศทั่วโลกใช้

ถึงเวลาประเทศไทยควรมี Cell Broadcast แล้วหรือยัง ระบบเตือนภัยที่ต่างประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง
Emergency Mobile Alert หรือ EMA เป็นระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ ที่ถูกส่งมาจากหน่วยงาน ของรัฐฯ เข้าที่โทรศัพท์มือถือ ข้อความที่ถูกส่งมา มักจะแจ้งเตือนเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย หรือ สภาพอากาศที่รุนแรง ตามหาคนหาย กระจายการแจ้งเตือนให้กับประชาชนด้วยนระบบ Cell Broadcast วิธีนี้จะคล้ายกับการส่ง SMS แต่ไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือ เป็นวิธีที่รวดเร็ว ส่ง SMS เข้ามือถือได้ในเวลาไม่ถึง 10 วินาที ส่งข้อความได้มากสุด 1395 ตัวอักษร เหมาะกับการแจ้งเตือนเหตุด่วนเหตุร้ายได้ทันสถานการณ์ โดยที่ประชาชน ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แค่มีโทรศัพท์มือถือที่รับ SMS ได้ เพราะเทคโนโลยีครอบคลุมทั้ง 2G,3G,4G และ 5G ซึ่งปัจจุบันนี้ โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะ iPhone หรือ Android ก็มีระบบ Cell Broadcast รองรับแล้ว
Emergency Mobile Alert หรือ ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
ทวีปอเมริกา ในสหรัฐอเมริกา ใช้ชื่อว่า Wireless Emergency Alerts (WEA) เน้นแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ ผ่านข้อความสั้นไม่เกิน 90 ตัวอักษร จะระบุสั้น ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น ใครได้รับผลกระทบ ประชาชนต้องเตรียมตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีอักระบบ ที่เรียกว่า Amber Alert ที่คอยติดตามช่วยเหลือเด็กหายภายใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสรอดมากขึ้น
ทวียุโรป ใช้ระบบที่เรียกว่า EU-Alert ประเทศสมาชิกต้องทำระบบเตือนภัยสาธารณะ แจ้งเตือนภัยที่คุกคามชีวิตและทรัพย์สิน สภาพอากาศที่รุนแรง ไปจนถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ต้องอพยพผู้คนด่วน ซึ่งลักษณะของการเตือนจะแตกต่างกันตามบริบทและกฎหมายของแต่ละประเทศ และชื่อเรียกก็จะต่างกันเช่นกัน
ทวีปเอเชีย ที่มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ เห็นกันบ่อยครั้ง คือ
เกาหลีใต้ ใช้ชื่อว่า Korean Emergency Alert (KPAS) ระบบเตือนภัยที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2005 โดยร้อยละ 90 มักแจ้งเตือนเรื่องสภาพอากาศ อากาศร้อนเกินไปจนเป็นอันตราย อากาศหนาวมีพายุหิมะ สถานการณ์โควิด-19 รวมไปถึงพื้นที่อันตรายไม่ควรเข้า การแจ้งเตือนนี้ ชาวต่างชาติที่ไปเกาหลีใต้ก็สามารถรับการแจ้งเตือนข้อความ โดยจะมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ญี่ปุ่น ประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง มีระบบเตือนภัยที่ชื่อว่า J-Alert เผยแพร่ข้อมูลอย่างรวดเร็วผ่านดาวเทียม และ อุปกรณ์ที่ติดตั้งทั่วประเทศ ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม ระบบนี้จะเตือนภัย และสามารถป้องกัน ลดความเสียหาย ลดจำนวนผู้เสียชีวิต เพราะประชาชนรับรู้อย่างรวดเร็ว และ อพยพได้ทันท่วงที
ฟิลิปปินส์ ก็มีระบบ Emergency Cell Broadcast System (ECBS) แจ้งเตือนภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์อพยพ พักพิง จุดรับ ส่งประชาชน
ทวีปออสเตรเลีย อีกมุดหมายที่คนไทยเดินทางไป และเกิดภัยพิบัติไฟฟ่าบ่อยครั้ง มีระบบเตือนภัยที่เรียกว่า Emergency Alert Australia ข้อความที่เป็นตัวอักษรจะถูกส่งเป็น SMS เข้าโทรศัพท์มือถือ ส่วนโทรศัพท์บ้านจะมีการส่งข้อความเสียงเช้าไป ในพื้นที่ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง
ย้อนกลับมามองที่ประเทศไทย จากเหตุการณ์ยิงภายในสยามพารากอนเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.66) ทำให้หลายคนเรียกร้อง ต้องการที่จะให้มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ไม่สามารถรับรู้เหตุการณ์ได้เลย อีกทั้งหลายคนในพื้นที่รับรู้เหตุจากโซเชียลมีเดียอย่าง X หรือทวิตเตอร์ และจากแอปพลิเคชันส่งอาหาร
Emergency Mobile Alert หรือ EMA เป็นระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ ที่ถูกส่งมาจากหน่วยงาน ของรัฐฯ เข้าที่โทรศัพท์มือถือ ข้อความที่ถูกส่งมา มักจะแจ้งเตือนเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย หรือ สภาพอากาศที่รุนแรง ตามหาคนหาย กระจายการแจ้งเตือนให้กับประชาชนด้วยนระบบ Cell Broadcast วิธีนี้จะคล้ายกับการส่ง SMS แต่ไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือ เป็นวิธีที่รวดเร็ว ส่ง SMS เข้ามือถือได้ในเวลาไม่ถึง 10 วินาที ส่งข้อความได้มากสุด 1395 ตัวอักษร เหมาะกับการแจ้งเตือนเหตุด่วนเหตุร้ายได้ทันสถานการณ์ โดยที่ประชาชน ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แค่มีโทรศัพท์มือถือที่รับ SMS ได้ เพราะเทคโนโลยีครอบคลุมทั้ง 2G,3G,4G และ 5G ซึ่งปัจจุบันนี้ โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะ iPhone หรือ Android ก็มีระบบ Cell Broadcast รองรับแล้ว
Emergency Mobile Alert หรือ ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
ทวีปอเมริกา ในสหรัฐอเมริกา ใช้ชื่อว่า Wireless Emergency Alerts (WEA) เน้นแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ ผ่านข้อความสั้นไม่เกิน 90 ตัวอักษร จะระบุสั้น ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น ใครได้รับผลกระทบ ประชาชนต้องเตรียมตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีอักระบบ ที่เรียกว่า Amber Alert ที่คอยติดตามช่วยเหลือเด็กหายภายใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสรอดมากขึ้น
ทวียุโรป ใช้ระบบที่เรียกว่า EU-Alert ประเทศสมาชิกต้องทำระบบเตือนภัยสาธารณะ แจ้งเตือนภัยที่คุกคามชีวิตและทรัพย์สิน สภาพอากาศที่รุนแรง ไปจนถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ต้องอพยพผู้คนด่วน ซึ่งลักษณะของการเตือนจะแตกต่างกันตามบริบทและกฎหมายของแต่ละประเทศ และชื่อเรียกก็จะต่างกันเช่นกัน
ทวีปเอเชีย ที่มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ เห็นกันบ่อยครั้ง คือ
เกาหลีใต้ ใช้ชื่อว่า Korean Emergency Alert (KPAS) ระบบเตือนภัยที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2005 โดยร้อยละ 90 มักแจ้งเตือนเรื่องสภาพอากาศ อากาศร้อนเกินไปจนเป็นอันตราย อากาศหนาวมีพายุหิมะ สถานการณ์โควิด-19 รวมไปถึงพื้นที่อันตรายไม่ควรเข้า การแจ้งเตือนนี้ ชาวต่างชาติที่ไปเกาหลีใต้ก็สามารถรับการแจ้งเตือนข้อความ โดยจะมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ญี่ปุ่น ประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง มีระบบเตือนภัยที่ชื่อว่า J-Alert เผยแพร่ข้อมูลอย่างรวดเร็วผ่านดาวเทียม และ อุปกรณ์ที่ติดตั้งทั่วประเทศ ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม ระบบนี้จะเตือนภัย และสามารถป้องกัน ลดความเสียหาย ลดจำนวนผู้เสียชีวิต เพราะประชาชนรับรู้อย่างรวดเร็ว และ อพยพได้ทันท่วงที
ฟิลิปปินส์ ก็มีระบบ Emergency Cell Broadcast System (ECBS) แจ้งเตือนภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์อพยพ พักพิง จุดรับ ส่งประชาชน
ทวีปออสเตรเลีย อีกมุดหมายที่คนไทยเดินทางไป และเกิดภัยพิบัติไฟฟ่าบ่อยครั้ง มีระบบเตือนภัยที่เรียกว่า Emergency Alert Australia ข้อความที่เป็นตัวอักษรจะถูกส่งเป็น SMS เข้าโทรศัพท์มือถือ ส่วนโทรศัพท์บ้านจะมีการส่งข้อความเสียงเช้าไป ในพื้นที่ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง
ย้อนกลับมามองที่ประเทศไทย จากเหตุการณ์ยิงภายในสยามพารากอนเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.66) ทำให้หลายคนเรียกร้อง ต้องการที่จะให้มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านทางข้อความ เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ไม่สามารถรับรู้เหตุการณ์ได้เลย อีกทั้งหลายคนในพื้นที่รับรู้เหตุจากโซเชียลมีเดียอย่าง X หรือทวิตเตอร์ และจากแอปพลิเคชันส่งอาหาร
Gallery
