เลือกตั้ง 2566 : สส. มาจากการลงคะแนนเลือกตั้ง 2 ประเภท คือ สส. แบ่งเขต และ สส. บัญชีรายชื่อ
สส. มาจากการลงคะแนนเลือกตั้ง 2 ประเภท คือ สส. แบ่งเขต และ สส. บัญชีรายชื่อ
สส. ทั้งหมดมีจำนวน 500 คน
• แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน
• แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาจาก เขตเลือกตั้งทั่วประเทศที่แบ่งเป็น 400 เขต
• ได้รับคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้น
• ได้รับคะแนนสูงกว่าคะแนนที่ไม่เลือกผู้ใด
สส. แบบบัญชีรายชื่อ มาจาก พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 บัญชี
• พรรคการเมืองส่งรายชื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนปิดรับสมัคร สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
• รายชื่อต้องไม่ซ้ำกับผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
• กกต. คำนวณจำนวน สส. ตามสัดส่วนคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
วิธีคำนวณจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อ
ข้อ (1) รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ
ข้อ (2) คะแนนรวมจากข้อ (1) นำมาหารด้วย 100 = คะแนนเฉลี่ยต่อ สส. แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน
ข้อ (3) คะแนนรวมแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ นำมาหารด้วย คะแนนเฉลี่ยข้อ (2) = ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มคือจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ
ข้อ (4) กรณีที่จำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมืองมีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้ดำเนินการดังนี้
พรรคการเมืองที่มีเศษ (ไม่มีจำนวนเต็ม) หลังจากการคำนวณตาม ข้อ (3) พรรคการเมืองใดมีเศษจำนวนมากที่สุดจะได้รับจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อทุกพรรคการเมือง ครบจำนวน 100 คน
ข้อ (5) หากดำเนินการตามข้อ (4) มีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากัน ซึ่งจะทำให้จำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลาที่ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ สส. แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน
เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว เลือกตั้ง 66 #วาระคนไทย ได้ที่ www.ch7.com/election2566
ช่องทางโซเชียลมีเดีย
Facebook : www.facebook.com/Ch7HDNews
Twitter : www.twitter.com/Ch7HD
IG : www.instagram.com/ch7hd_news
TikTok : www.tiktok.com/@ch7hd_news
Youtube : www.bit.ly/youtubech7hd
สส. ทั้งหมดมีจำนวน 500 คน
• แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน
• แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาจาก เขตเลือกตั้งทั่วประเทศที่แบ่งเป็น 400 เขต
• ได้รับคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้น
• ได้รับคะแนนสูงกว่าคะแนนที่ไม่เลือกผู้ใด
สส. แบบบัญชีรายชื่อ มาจาก พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 บัญชี
• พรรคการเมืองส่งรายชื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนปิดรับสมัคร สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
• รายชื่อต้องไม่ซ้ำกับผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
• กกต. คำนวณจำนวน สส. ตามสัดส่วนคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ
วิธีคำนวณจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อ
ข้อ (1) รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ
ข้อ (2) คะแนนรวมจากข้อ (1) นำมาหารด้วย 100 = คะแนนเฉลี่ยต่อ สส. แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน
ข้อ (3) คะแนนรวมแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ นำมาหารด้วย คะแนนเฉลี่ยข้อ (2) = ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มคือจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ
ข้อ (4) กรณีที่จำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมืองมีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้ดำเนินการดังนี้
พรรคการเมืองที่มีเศษ (ไม่มีจำนวนเต็ม) หลังจากการคำนวณตาม ข้อ (3) พรรคการเมืองใดมีเศษจำนวนมากที่สุดจะได้รับจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อทุกพรรคการเมือง ครบจำนวน 100 คน
ข้อ (5) หากดำเนินการตามข้อ (4) มีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากัน ซึ่งจะทำให้จำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลาที่ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ สส. แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน
เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว เลือกตั้ง 66 #วาระคนไทย ได้ที่ www.ch7.com/election2566
ช่องทางโซเชียลมีเดีย
Facebook : www.facebook.com/Ch7HDNews
Twitter : www.twitter.com/Ch7HD
IG : www.instagram.com/ch7hd_news
TikTok : www.tiktok.com/@ch7hd_news
Youtube : www.bit.ly/youtubech7hd