ช่อ พรรณิการ์ แนะ พรรคประชาชน ยอมถอย แก้ชื่อญัตติ ตัดชื่อ “ทักษิณ” ทิ้ง

ช่อ พรรณิการ์ แนะ พรรคประชาชน ยอมถอย แก้ชื่อญัตติ ตัดชื่อ  “ทักษิณ” ทิ้ง

วันที่ 11 มี.ค. 2568 เวลา 15:13 น.

ช่อ พรรณิการ์ แนะพรรคประชาชน ยอมถอย แก้ชื่อญัตติ ตัดชื่อ  “ทักษิณ” ทิ้ง แล้วไปสอดไส้ไว้ในเนื้อหาแทน มอง อภิปราย3 วันกำลังดี เปิดทาง นายกฯอิ๊งค์ โชว์ศักยภาพผู้นำ วันนี้ (11 มี.ค.68) น.ส. พรรณการ์ วาณิช อดีต สส. พรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึงกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งให้ประชาชนแก้ไขญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี โดยให้ตัดชื่อของ นายทักษิณ ชินวัตรออก ว่า ตอนนี้พรรคประชาชนอยู่ในไฟท์บังคับ ที่จำเป็นจะต้องยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ได้ภายในสมัยประชุมนี้เพราะในเดือนเมษายนกำลังจะปิดสมัยประชุมหากเลื่อนไปเรื่อยเรื่อย ก็จะเข้าทางฝั่งรัฐบาลคือไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะฝ่ายค้านไม่ยอมแก้ไขญัตติ ก็จะหมดเวลาไปเองตามที่กฎหมายกำหนด และกลับมายื่นอภิปรายใหม่ในอีกหลายเดือนข้างหน้า “เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่าไม่สามารถระบุชื่อนายทักษิณ ลงไปในญัตติได้ พรรคประชาชนก็จะต้องแก้ไขญัตติตัดชื่อนายทักษิณออก แล้วเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทน แต่การตัดชื่อนายทักษิณ ออกไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาของการอภิปรายจะเปลี่ยนไป ดังนั้นพรรคประชาชนต้องปรับเพื่อให้เปิดการอภิปรายได้”  อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้มีนัยยะทางการเมืองที่สำคัญ ว่านายทักษิณมีสถานะพิเศษ ถึงทำให้ประธานสภาฯ ต้องคำสั่งให้ตัดชื่อออกจากญัตติ โดยที่ไม่มีระเบียบรองรับ อีกทั้งประธานสภาฯ สมัยที่เป็นฝ่ายค้านก็เคยยื่นญัตติ ที่มีชื่อบริษัทเอกชนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ต่อนายชวนหลีกภัย ประธานสภาในขณะนั้น และก็สามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการอภิปรายได้ ดังนั้นมองว่านี่คือการใช้อำนาจโดยการหาข้อบังคับไม่เจอ และทำให้นายทักษิณอยู่ในสถานะพิเศษยิ่งทำให้จำเป็นจะต้องมีการอภิปราย นายทักษิณภายใต้การนำของรัฐบาลชุดนี้ พรรคประชาชนควรใช้เทคนิคทำให้รัฐบาลหลงทาง  โดยไม่ใส่ชื่อนายทักษิณแต่ยังคงใช้เนื้อหาเดิม เช่นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินโดยให้บิดามาชักใย และมั่นใจว่าในการอภิปรายน่าจะมีการอภิปรายถึงเรื่องส่วนตัว ของนายกรัฐมนตรีอยู่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่า 17 ข้อหาที่กล่าวอ้างเรื่องของนายทักษิณเป็นเพียงแค่หนึ่งเรื่องเท่านั้น ยังมีอีก 16 ประเด็นที่จะต้องถูกอธิบาย และพุ่งเป้าไปที่ตัวนายกฯ เพียงคนเดียวเท่านั้น ตามข้อบังคับข้อที่69 ไม่ได้ระบุห้ามการอภิปรายพาดพิงถึงบุคคลภายนอกแต่อย่าเอ่ยถึงบุคคลภายนอกโดยไม่จำเป็น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเอ่ยถึงบุคคลภายนอกเป็นเรื่องปกติแต่ขึ้นอยู่กับผู้อภิปรายจะสามารถชี้แจงได้หรือไม่ว่ามีมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องเอ่ยถึงบุคคลภายนอก และเป็นไปไม่ได้ที่การอภิปรายจะราบรื่นแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีเองก็ยังตั้งองครักษ์ ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถทำให้ประชาชนเชื่อในเนื้อหาที่อภิปรายได้มากกว่ากัน ส่วนเวลาการอภิปรายส่วนตัวมองว่าจะมากจะน้อยก็สามารถอภิปรายได้ถึงแก่น 3 วันกำลังดี ประชาชนไม่เหนื่อย เกินไปที่จะติดตามการอภิปราย ภาคประชาชนต้องตัดคนอภิปรายออกเลือกคนที่จะอภิปรายเข้าเป้าตรงประเด็น พร้อมเตือนรัฐบาลหากจะตัดวันอภิปรายเหลือเพียงแค่วันเดียวคนที่จะรับบทหนักคือนายกรัฐมนตรีเพราะต้องตอบภายในวันเดียวนายกรัฐมนตรีอาจจะเตรียมคำตอบไม่ทัน อย่างไรก็ตามหวังว่าพรรคประชาชนจะอภิปรายในประเด็นที่รัฐมนตรีคนอื่น ตอบแทนนายกรัฐมนตรีไม่ได้ นั่นหมายความว่าจะได้เห็นศักยภาพของนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะการชี้แจงเรื่องคุณสมบัติและการบริหารราชการแผ่นดินของตัวเองขอให้มองว่าเป็นโอกาสในการพิสูจน์ตัวเองให้ประชาชนได้เห็น