คนกรุงต้องเผชิญฝุ่นพิษต่อเนื่อง
วันที่ 3 ก.พ. 2568 เวลา 08:17 น.
ฝุ่นพิษหนาแน่น คลุมหลายจังหวัดหลายภาค เช้านี้ กทม.ค่าฝุ่นอยู่อันดับ 15 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พบจุดความร้อนมากที่สุด วันนี้ (3 ก.พ..68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก ณ 08.00 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 2 เมืองใหญ่ของไทย โดย กทม.ค่าฝุ่นอยู่ระดับสีแดง อันดับ 15 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ส่วนเชียงใหม่ ค่าฝุ่น PM2.5 ลดลงอยู่ในระดับสีเหลือง โดยเชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 47 อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุด (เวลา 08.00น.) คือ 1 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2 ขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น 3 ชลบุรี, จังหวัดชลบุรี 4 ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี 5 ลำปลายมาศ, จังหวัดบุรีรัมย์ 6 ธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี 7 คลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี 8 ปทุมธานี, จังหวัดปทุมธานี 9 บางกะปิ, กรุงเทพฯ 10 นครราชสีมา, จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 47.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) 12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 1 เขตบึงกุ่ม 64 มคก./ลบ.ม. 2 เขตหนองจอก 63.8 มคก./ลบ.ม. 3 เขตลาดกระบัง 61.7 มคก./ลบ.ม. 4 สวนหนองจอก เขตหนองจอก 59.2 มคก./ลบ.ม. 5 เขตสายไหม 56.6 มคก./ลบ.ม. 6 เขตมีนบุรี 56.5 มคก./ลบ.ม. 7 เขตบางกอกน้อย 56.3 มคก./ลบ.ม. 8 เขตคลองสามวา 55.6 มคก./ลบ.ม. 9 เขตคันนายาว 55 มคก./ลบ.ม. 10 สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 54.9 มคก./ลบ.ม. 11 เขตสาทร 53.8 มคก./ลบ.ม. 12 เขตบางเขน 53.7 มคก./ลบ.ม. ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ขณะที่ Gistda เผยข้อมูลระบบบริหารจัดการไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ ณ วันที่ 3 ก.พ.68 พบว่า 5 อันดับพื้นที่ที่มีจุดความร้อน สูงสุด คือ ตาก ชัยภูมิกาญจนบุรี อุตรดิตถ์ และขอนแก่น โดยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าอนุรักษ์ พบจุดความร้อนมากที่สุด