ไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. 2568 ช่องทางเเจ้งเหตุ-เสียสิทธิอะไรบ้าง

ไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. 2568 ช่องทางเเจ้งเหตุ-เสียสิทธิอะไรบ้าง

วันที่ 30 ม.ค. 2568 เวลา 10:32 น.

ช่องทางเเจ้งเหตุ ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ. 2568 เช็ก ! หากไม่ไปเสียสิทธิอะไรบ้าง การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ เลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ.จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 ก.พ. 2568 เวลา 08.00-17.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่ท่านมีชื่อ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ประชาชนสามารถตรวจสอบชื่อของตัวเองว่ามีสิทธิเลือกตั้งอยู่ที่ไหน ได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของกระทรวงมหาดไทย https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection-local/ เเจ้งเหตุไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง กรณีไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ. 2568 เพื่อรักษาสิทธิทางการเมือง  กกต.เปิดช่องทางให้ประชาชนเเจ้งยื่นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ 3 ช่องทาง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องแจ้งก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน หรือภายใน 7 วันนับหลังวันเลือกตั้ง 1. แจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถยื่นเเจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ที่ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/abscauselocal/ ผ่านระบบการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์การเลือกตั้งท้องถิ่น 2. แจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Smart Vote เลือกหัวข้อ การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์   3. แจ้งด้วยตนเอง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถแจ้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สำหรับเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ มีดังนี้ มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด ไม่ไปเลือกตั้ง เสียสิทธิอะไรบ้าง สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.) หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.) ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น "โดยการถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง"