จุดความร้อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
วันที่ 30 ม.ค. 2568 เวลา 08:40 น.
จุดความร้อนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มขึ้นรวดเร็ว รองลงมาคือพื้นที่เกษตร กทม. ฝุ่นพิษเริ่มสูงขึ้นอีกครั้ง "ตาก" พบจุดความร้อนมากที่สุด วันนี้ (28 ม.ค.68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก ณ 08.00 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 พบว่า กทม. และเชียงใหม่ ค่าฝุ่น PM2.5 ลดลงอยู่ในระดับสีส้ม โดยเชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 15 และกทม. อันดับ 16 ของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุด (เวลา 08.00น.) คือ 1 นครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม 2 Saphan Sung, กรุงเทพฯ 3 ระยอง, จังหวัดระยอง 4 สมุทรสาคร, จังหวัดสมุทรสาคร 5 Khan Na Yao, กรุงเทพฯ 6 บางกะปิ, กรุงเทพฯ 7 ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี 8 สันทราย, จังหวัดเชียงใหม่ 9 คลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี 10 Mae Rim, จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 30 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 35.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) 12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 1 เขตคลองสามวา 46 มคก./ลบ.ม. 2 เขตลาดกระบัง 43.9 มคก./ลบ.ม. 3 เขตบางขุนเทียน 43.4 มคก./ลบ.ม. 4 เขตภาษีเจริญ 42.9 มคก./ลบ.ม. 5 เขตพระโขนง 42.7 มคก./ลบ.ม. 6 เขตคันนายาว 41.6 มคก./ลบ.ม. 7 เขตหนองจอก 41.5 มคก./ลบ.ม. 8 เขตหนองแขม 40.9 มคก./ลบ.ม. 9 เขตธนบุรี 40.1 มคก./ลบ.ม. 10 เขตหลักสี่ 40 มคก./ลบ.ม. 11 เขตมีนบุรี 39.6 มคก./ลบ.ม. 12 เขตวังทองหลาง 38.6 มคก./ลบ.ม. ขณะที่ Gistda เผยข้อมูลระบบบริหารจัดการไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ ณ วันที่ 29 ม.ค. 2568 พบว่า 5 อันดับพื้นที่ที่มีจุดความร้อน สูงสุด คือ ตาก อุตรดิตถ์ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี โดยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตร พบจุดความร้อนมากที่สุด