ดัชนีคุณภาพอากาศดีขึ้น

ดัชนีคุณภาพอากาศดีขึ้น

วันที่ 28 ม.ค. 2568 เวลา 07:32 น.

ภาพรวมฝุ่นลดลงทุกพื้นที่ กทม.อากาศดีปานกลาง ขณะที่จุดความร้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตร วันนี้ (28 ม.ค.68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก ณ 07.300 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5  พบว่า กทม. ค่าฝุ่น PM2.5 ลดลงอยู่ในระดับสีเหลือง และเขียว อยู่ในอันดับ45 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก  ขณะที่ เชียงใหม่ อันดับ 48  อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุด (เวลา 7.00น.) คือ 1 Mae Hi, จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 สมุทรสาคร, จังหวัดสมุทรสาคร 3 เวียงเหนือ, จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 Pai, จังหวัดแม่ฮ่องสอน 5 บางกอกใหญ่, กรุงเทพฯ 6 Phaya Thai, กรุงเทพฯ 7 ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี 8 อุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์ 9 เพชรบูรณ์, จังหวัดเพชรบูรณ์ 10 ตลิ่งชัน, กรุงเทพฯ เว็บไซต์ "IQAir" แบ่งเกณฑ์การวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ดังนี้ สีเขียว 0-50 AQI คุณภาพอากาศ "ดี" สีเหลือง 51-100 AQI คุณภาพอากาศ "ปานกลาง" สีส้ม 101-150 AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือร่างกายอ่อนแอ" สีแดง 151-200  AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อทุกคน" สีม่วงอ่อน 201-300 AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง" สีม่วงเข้ม 301+ AQI คุณภาพอากาศ "อันตราย" ด้านศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 28 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 26 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) 12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 1 เขตภาษีเจริญ 35 มคก./ลบ.ม. 2 เขตธนบุรี 34 มคก./ลบ.ม. 3 เขตหลักสี่ 32.7 มคก./ลบ.ม. 4 เขตพระโขนง 32.2 มคก./ลบ.ม. 5 เขตประเวศ 31.8 มคก./ลบ.ม. 6 เขตบางรัก 30.8 มคก./ลบ.ม. 7 เขตบางกอกน้อย 30.7 มคก./ลบ.ม. 8 เขตหนองแขม 30.7 มคก./ลบ.ม. 9 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 30 มคก./ลบ.ม. 10 เขตคลองสามวา 29.9 มคก./ลบ.ม. 11 เขตราษฎร์บูรณะ 29.5 มคก./ลบ.ม. 12 เขตพญาไท 29.3 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ขณะที่ Gistda เผยข้อมูลระบบบริหารจัดการไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ ณ วันที่ 27 ม.ค. 2568 พบว่า 5 อันดับพื้นที่ที่พบจุดความร้อนสูงสุด คือตาก กาญจนบุรี ชัยภูมิ ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ตามลำดับ โดยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรพบจุดความร้อนมากที่สุด ส่วน 5 อันดับพื้นที่ที่มีจุดความร้อน คือกัมพูชา รองลงมาคือไทย ลาว เมียนมา และเวียดนาม