แห่ต้อนรับ นายกฯ บินตรวจแก้น้ำท่วม จ.ขอนแก่น

วันที่ 20 ธ.ค. 2567 เวลา 16:48 น.

ข่าวเย็นประเด็นร้อน - นายกฯ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ติดตามโครงการแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมยืนยันโครงการแจกเงินหมื่นมี 3 รอบ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้เงินก่อนตรุษจีนแน่นอน แห่ต้อนรับ นายกฯ บินตรวจแก้น้ำท่วม จ.ขอนแก่น ทันทีที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น มีเครือข่ายกลุ่มสตรี 20 จังหวัดภาคอีสาน และคนเสื้อแดงภาคอีสาน มารอมอบดอกกุหลาบและผูกผ้าขาวม้าต้อนรับ นายกฯ โชว์หว่านข้าว ติดตามแก้น้ำท่วม จ.มหาสารคาม จากนั้น นางสาวแพทองธาร เดินทางไปที่ประตูระบายน้ำห้วยน้ำเค็ม (DM) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยลุ่มน้ำชี และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ก่อนชมเกษตรกรรมแปลงนาปรัง และทดลองหว่านข้าว จากนั้น นายกฯ เดินพบปะประชาชนกว่า 500 คน ที่มารอต้อนรับ ทำให้ประชาชนตื่นเต้น บางคนถึงกับดึงตัวนายกฯ ไปกอดด้วยความดีใจที่นายกฯ มาหา พร้อมเอ่ยชมว่า ตัวจริงสวยมากกว่าในทีวี และขอผูกผ้าขาวม้า พร้อมกับขอจับมือ ขอเซลฟีและคล้องพวงมาลัยดาวเรือง ตะโกนให้กำลังใจนายกฯ สู้ ๆ นายกฯ ลั่นแจกเงินหมื่นมี 3 รอบ จ.มหาสารคาม นางสาวแพทองธาร กล่าวทักทายประชาชนด้วยสำเนียงอีสานว่า "ขอบคุณสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น" สำหรับประตูระบายน้ำจุดนี้ สมัยคุณพ่อให้งบประมาณมาสร้างประตูน้ำแห่งนี้ ผ่านมา 20 ปี มาถึงลูกสาว ได้ทำงบซ่อมแซมพอดี โดย รองอธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่า เสร็จปีนี้แน่นอน ซึ่งจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งหมดไป พร้อมถามว่า มีใครได้ไร่ละ1,000 บาท บ้าง และมีใครได้เงิน 10,000 บาท แล้วบ้าง โดยยืนยันว่ากลุ่มต่อไป คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้ก่อนตรุษจีน โพลอยากได้เงินเป็นของขวัญมากที่สุด ขณะที่ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล" กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,246 คน ระหว่างวันที่ 3-6 ธันวาคม 2567 พบว่า ของขวัญที่อยากได้มากที่สุด คือ มาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ 59.95% รองลงมาคือ ช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงานต่าง ๆ ร้อยละ 58.03% และมาตรการลดค่าครองชีพช่วยประชาชน 53.17% ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไขก่อนปีใหม่มากที่สุด คือ ปัญหาค่าครองชีพ 66.48% ปัญหายาเสพติด 57.51% และปัญหาน้ำท่วม/ภัยแล้ง 56.46%