เตรียมปรับเพดานค่าจ้าง ผู้ประกันตนเฮเพิ่มสิทธิ เช็กจ่ายกี่บาท

วันที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 15:51 น.

ประกันสังคม เตรียมปรับเพดานค่าจ้าง เพิ่มสิทธิประโยชน์ ม.33 ผู้ประกันตนเช็ก! ต้องจ่ายเพิ่มกี่บาท ? กรณีเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.67 สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการเปิดสำรวจความคิดเห็นต่อการปรับปรุงเพดานค่าจ้าง "เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์" ของผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งผู้ประกันตนสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ผ่านออนไลน์เว็บไซต์ www.sso.go.th ได้ตั้งแต่วันนี้ - 15 ธ.ค.67 โดยการเสนอปรับเพดานค่าจ้าง เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ทั้งกรณีเจ็บป่วย ว่างงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ เงินบำนาญชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ซึ่งจะมีการปรับขึ้นเพดานเงินสมทบเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ปี 2567 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องจ่ายประกันสังคมเพิ่มจาก 750 เป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน จากเดิมกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.38  จนถึงปัจจุบัน ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดในขณะนั้นคือ 135 บาท จึงเห็นสมควรปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยร่างกฎกระทรวงนี้คาดจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.69 เป็นต้นไป ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่ละคนให้กำหนดขั้นต่ำ ขั้นสูง ดังต่อไปนี้ 1.ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท 2.ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท 3.ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท ดังนั้นผู้ประกันตนมาตรา 33 บางกรณีจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม แต่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จะส่งเงินสมทบเท่าเดิมหรือ 750 บาทต่อเดือน ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคมได้เผยแพร่รายละเอียด ตารางเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพดานค่าจ้าง ที่มีรายละเอียดดังนี้ สิทธิประกันสังคมปัจจุบัน (ปี 2567) มาจากเงินสมทบที่หักจากเงินเดือนทุกเดือน ในอัตรา 5% คิดจากฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จ่ายสมทบสูงสุดที่ 750 บาท โดยสิทธิประโยชน์เงินทดแทน และเงินบำนาญที่ได้รับ ประกอบด้วย 1. เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 7,500 บาทต่อเดือน (250 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 45,000 บาท) 2. เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 22,500 บาทต่อครั้ง 3. เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 7,500 บาทต่อเดือน 4. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 90,000 บาท 5. เงินทดแทนกรณีว่างงาน 7,500 บาทต่อเดือน 6. เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 3,000 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 5,250 บาทต่อเดือน เทียบสิทธิประโยชน์จากการปรับเพดานค่าจ้าง ระหว่างปี 2569-2571 ปี 2569 – 2571 ที่จะมีการปรับเป็นค่าจ้าง 17,500 บาท ซึ่งจะต้องจ่ายเงินสมทบสูงสุด 875 บาทต่อเดือน โดยสิทธิประโยชน์เงินทดแทน และเงินบำนาญที่ได้รับเพิ่มขึ้น คือ 1. เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 8,750 บาทต่อเดือน (291 บาทต่อวัน สูงสุด 180 รวม 52,500 บาท) 2. เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 26,250 บาทต่อครั้ง 3. เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 8,750 บาทต่อเดือน 4. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 105,000 บาท 5. เงินทดแทนกรณีว่างงาน 8,750 บาทต่อเดือน 6. เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 3,500 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 6,125 บาทต่อเดือน   เทียบสิทธิประโยชน์จากการปรับเพดานค่าจ้าง ระหว่างปี 2572-2574 ปี 2572 – 2574 ที่จะมีการปรับเป็นค่าจ้าง 20,000 บาท จะต้องจ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน โดยสิทธิประโยชน์เงินทดแทน และเงินบำนาญที่ได้รับเพิ่มขึ้น คือ 1. เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 10,000 บาทต่อเดือน (333 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 60,000 บาท) 2. เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 30,000 บาทต่อครั้ง 3. เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 10,000 บาทต่อเดือน 4. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 120,000 บาท 5. เงินทดแทนกรณีว่างงาน 10,000 บาทต่อเดือน 6. เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,000 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 7,000 บาทต่อเดือน เทียบสิทธิประโยชน์จากการปรับเพดานค่าจ้าง ปี 2575 เป็นต้นไป ปี 2575 เป็นต้นไป ที่จะมีการปรับเป็นค่าจ้าง 23,000 บาท จะต้องจ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,150 บาทต่อเดือนโดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้น คือ 1. เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 11,500 บาทต่อเดือน (383 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 69,000 บาท) 2. เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 34,500 บาทต่อครั้ง 3. เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 11,500 บาทต่อเดือน 4. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 138,000 บาท 5. เงินทดแทนกรณีว่างงาน 11,500 บาทต่อเดือน 6. เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,600 บาทต่อเดือน ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 8,050 บาทต่อเดือน ร่วมทำแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นการปรับปรุงเพดานค่าจ้าง "เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์" คลิกที่นี่ ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office