สสจ.ปทุมฯ แจงยิบปมดรามาปั๊มหัวใจบนรถฉุกเฉิน ไม่นำส่ง รพ.

วันที่ 29 พ.ย. 2567 เวลา 10:07 น.

สสจ.ปทุมธานี ร่อนแถลงการณ์ชี้แจง โซเชียลรุมถล่มปั๊มหัวใจบนรถฉุกเฉิน ไม่นำส่ง รพ. คนเจ็บไม่มีสัญญาณชีพ CPR บนรถมีอุปกรณ์พร้อมกว่า ป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน แจ้งญาติถึงความเสี่ยง ตัดสินใจร่วมกันทุกขั้นตอน วิจารณ์สนั่นโซเชียล “กู้ชีพปั๊มหัวใจคนเจ็บบนรถ ไม่ส่งโรงพยาบาล สุดท้ายเสียชีวิต" วันนี้ (29 พ.ย.67) สำนักงานสาธาณสุขจังหวัดปทุมธานี ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า ตามข้อความที่ปรากฏทางสื่ออนไลน์เกี่ยวกับ "กู้ชีพปั๊มหัวใจคนเจ็บบนรถกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ส่งโรงพยาบาล” จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ผู้บาดเจ็บเป็นชายอายุ 18 ปี ยืนอยู่ด้านหลังรถ 6 ล้อ โดยผู้บาดเจ็บล้มลงหมดสติระหว่างกลับรถใต้สะพาน คาดว่าผู้บาดเจ็บศีรษะกระแทกขอบปูนของสะพานกลับรถ ส่งผลให้หมดสติ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ตามพยานหลักฐานและบันทึกการปฏิบัติการของศูนย์สั่งการ ฯ และ ทีมปฏิบัติการการเพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ-ทุกทีม พบว่าเวลา วันที่ 26 พ.ย. 67 เวลา 19.19 น. ศูนย์สั่งการปทุมธานี สั่งการให้ ทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก ออกปฏิบัติการ เมื่อทีมกู้ขีพ รพ.สามโคก ไปถึงจุดเกิดเหตุพบว่าอาสาสมัครกู้ชีพร่วมกตัญญูกำลังทำ CPR ผู้บาดเจ็บอยู่ก่อนแล้ว ทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงได้เข้าประเมินอาการผู้บาดเจ็บพบว่า ผู้บาดเจ็บไม่มีสัญาณชีพใด ๆ หัวใจหยุดเต้น ไม่มีการตอบสนองทางระบประสาท นอกจากนี้ พบว่าผู้บาดเจ็บมรรอยเลือดออกที่ปาก จมูก และหูข้างขวา จากนั้น ทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงได้ช่วยฟื้นคืนชีพทำ CPR ต่อจากทีมอาสาสมัครกู้ชีพร่วมกตัญญู โดยใช้เครื่องกดหน้าอกนวดหัวใจอัตโนมัติ (Auto CPR) แต่ในขณะที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้วพบว่ามีเลือดออกจากปากและจมูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกลั้นจากเลือดปริมาณมากที่ออกทางจมูกและปาก เพื่อให้การช่วยฟื้นคืนชีพมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุซ้ำช้อน หัวหน้าทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงได้ให้คำแนะนำและขออนุญาตจากญาติผู้บาดเจ็บ นำผู้บาดเจ็บขึ้นไปช่วยฟื้นคืนชีพบนรถพยาบาล ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเวชภัณฑ์ ยา เครื่องดูดเลือดและสารคัดหลั่ง (Suction) รวมถือเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ในระหว่างการทำ CPR และการให้การรักษา ทีมกู้ชีพได้แจ้งสถานการณ์ของผู้บาดเจ็บกับญาติโดยตลอด อีกทั้งยังได้แจ้งถึงความเสี่ยงในการเคลื่อนรถพยาบาลเพื่อนำส่งผู้บาดเจ็บไปยัง รพ. ซึ่งมีสภาพพื้นผิวจราจรไม่เรียบและขรุขระ อาจจะทำให้การช่วยฟื้นคืนชีพไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จำเป็นต้องจอดรถให้หยุดนิ่งและปฏิบัติการช่วยพื้นพื้นคืนชีพ โดยการให้การรักษาทุกขั้นตอนมีการให้ข้อมูลและตัดสินใจร่วมกับญาติของผู้บาดเจ็บเป็นระยะ ๆ ทุกขั้นตอน หลังจากการทำ CPR รอบที่ 1 ใช้เวลา 30 นาที ไม่เป็นผล แจ้งญาติให้ทราบ แต่ญาติยังต้องการให้ทีมกู้ชีพช่วยฟื้นคืนชีพผู้บาดเจ็บต่ออีกสักระยะ ทางทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงทำ CPR ในรอบที่ 2 เป็นเวลา 15 นาที แต่ไม่เป็นผล จึงได้แจ้งญาติให้รับทราบว่าผู้บาดเจ็บได้เสียชีวิตแล้ว ญาติจึงเข้าใจและยอมรับในผลการรักษา หลังจากนั้นทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงได้ปรึกษากับทีมของมูลนิธิร่วมกตัญญู เกี่ยวกับการรับศพผู้เสียชีวิต และแจ้งประสานสถาบันนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้มาทำการขันสูตรศพ ณ จุดเกิดเหตุ โดยระหว่างการประสานงานประมาณ 30 นาที ร่างผู้เสียชีวิตยังอยู่บนรถ รพ. สามโคก เมื่อทีมชันสูตรของของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ตอบรับการชันสูตร ทีมกู้ชีพ รพ.สามโคก จึงนำร่างผู้เสียชีวิตลงจากรถพยาบาบาล มาไว้ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการชันสูตรพลิกศพ ณ จุดเกิดเหตุ หลังจากนั้นทีมกู้ขีพ รพ.สามโคก มอบร่างผู้เสียชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่อาสาร่วมกตัญญู เพื่อรอสถาบันนิติวิทยาศาสตร์มาชันสูตรพลิกศพ โดยทีม รพ.สามโคก ได้ถอนกำลังกลับฐาน เพื่อปฏิบัติการกิจที่รับผิดชอบใน รพ.ต่อไป