น้ำท่วมในพื้นที่ 18 จังหวัด
วันที่ 4 ต.ค. 2567 เวลา 10:33 น.
ปภ.รายงานมีสถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ 9 จังหวัด อีสาน 7 จังหวัด กลาง 2 จังหวัด เร่งระดมสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และฟื้นฟูพื้นที่ที่คลี่คลายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว วันนี้ (4 ต.ค. 67) เวลา 10.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวม 51 อำเภอ 252 ตำบล 1,262 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,214 ครัวเรือน ภาคเหนือ รวม 9 จังหวัด 25 อำเภอ 89 ตำบล 381 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,225 ครัวเรือน 1) เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า และ อ.เวียงชัย รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 220 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2) พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่ใจ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 3) แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 4) ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,868 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 5) ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม และ อ.งาว รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 6) ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,312 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 7) พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 8. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.เมืองฯ และ อ.หนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 9) สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 7 จังหวัด 16 อำเภอ 63 ตำบล 342 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,422 ครัวเรือน 1) เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูกระดึง อ.วังสะพุง และ อ.ภูเรือ รวม 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 533 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2) อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 575 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 3) กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด และ อ.หนองกรุงศรี รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 4) ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 5) ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ภูผาม่าน รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 6) มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 29 ตำบล 199 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 90 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 7) อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 121 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง ภาคกลาง รวม 2 จังหวัด 10 อำเภอ 100 ตำบล 539 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,567 ครัวเรือน 1) อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมืองฯ รวม 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 275 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2) พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ. บางปะหัน รวม 94 ตำบล 523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,292 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ปภ.ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิคแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด