น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 9 แสนไร่ เตรียมของบเยียวยากว่า 3,300 ล้านบาท

วันที่ 18 ก.ย. 2567 เวลา 13:02 น.

น้ำท่วม 2 เดือน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า  9 แสนไร่ เตรียมของบเร่งด่วนเยียวยากว่า 3,300 ล้านบาท วันนี้ (18ก.ย.67) นายเอกภาพ พลชื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) แถลงข่าว ผลการสำรวจความเสียหายภาคการเกษตร และ วางแผนแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. 2567 – ปัจจุบัน โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 ก.ย.67 มีพื้นที่ประสบภัย 43 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมอยู่ 16 จังหวัด และ กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 27 จังหวัด - ด้านการเกษตร มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น ข้าว พืชไร่ พืชผัก และ ไม้ผลไม้ยืนต้น 948,754.64 ไร่ และ มีเกษตรกร 153,565 คน - ด้านประมง มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น บ่อปลาบ่อกุ้ง รวม 9,538,98 ไร่ กระชัง 81,005 ตร.ม. เกษตรกร 9,805 คน - ด้านปศุสัตว์ มีจำนวนสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์ปีก รวม 3,568,339 ตัว เกษตรกร 60,578 คน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้า ดังนี้ 1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 2,289 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 617 ในพื้นที่ประสบภัย โดยระดมเครื่องมือเครื่องจักรจาก พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังไม่เกิดสถานการณ์ 2. แจกเมล็ดพันธุ์พืชผัก เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ให้กับเกษตรกร 48,562 ราย 49,300 ซอง และเตรียมหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 7,560 ขวด และเชื้อราไตรโคเดอร์มาพร้อมใช้ 14,840 กิโลกรัม สำหรับฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรหลังน้ำลด 3. อพยพสัตว์ จำนวน 589,984 ตัว หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 522,203 กิโลกรัม / ส่งเสริมสุขภาพสัตว์ ((แร่ธาตุ/ยาปฏิชีวนะ วิตามิน)) 22,742 ซอง / รักษาสัตว์ 7,275 ตัว / ถุงยังชีพสัตว์ 165 ถุง พร้อมทั้งจัดตั้งสถานที่พักพิงสัตว์ชั่วคราว เพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงของประชาชน โดยมีสัตว์แพทย์ และเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลสุขภาพสัตว์ให้ด้วย 4. ส่งเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ และเครื่องบิน 4 ลำ เข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองบัญชาการกองทัพ ในการเข้าพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย 5. จัดชุดเฉพาะกิจพร้อมเจ้าหน้าที่ รถยนต์ เรือตรวจการประมง ช่วยนำส่งเสบียงอาหารและน้ำดื่มช่วยอพยพประชาชนและผู้ป่วยออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนสถานที่ราชการเป็นที่พักพิงชั่วคราว เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนและเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากอุทกภัย โดยสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้จำนวน 100 คน และที่จอดรถชั่วคราวจำนวน 200 คัน 6. สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท 7.  ช่วยเหลือเร่งด่วนเป็นถุงยังชีพ จำนวน 5,205 ชุด และ อาหารปรุงสุกพร้อมน้ำดื่ม 24,450 ชุด  แผนงานฟื้นฟูเกษตรกรหลังน้ำลด จะเสนอของบกลาง วงเงินกว่า 3,300 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนระยะเร่งด่วน แบ่งเป็น 1) การฟื้นฟูอาชีพหลังน้ำลด โดยการสนับสนุนพันธุ์ข้าว พืชไร่ พีชสวน พันธุ์สัตว์ปีก พันธุ์ปลา พร้อมปัจจัยการผลิต 2) การปรับพื้นที่และฟื้นฟูพื้นที่เกษตร 3) มาตรการลดภารหนี้สินให้สมาชิกสถาบันเกษตรกร เช่น ผ่อนผันหรือขยายเวลาการชำระหนี้ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ