ภาคเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก มั่นใจ ไม่มีสารแคดเมียมในทุเรียนแน่นอน
วันที่ 5 ก.ย. 2567 เวลา 15:23 น.
สมาพันธ์ทุเรียนภาคตะวันออก จี้รัฐเร่งตรวจสอบและแก้ปัญหา กรณีประเทศจีนแจ้งปัญหาการพบสารแคดเมียมในทุเรียนของไทย โดยเร็วที่สุด เพราะกระทบภาพลักษณ์การค้าทุเรียน ตั้งข้อสังเกตมีการสวมสทธิหรือไม่ มั่นใจไม่ใช่ทุเรียนไทยแน่นอน วันนี้ (5 ก.ย.67) นายชลธี นุ่มหนู นายกสมาพันธ์ทุเรียนภาคตะวันออก กล่าวถึง กรณีประเทศจีนได้แจ้งถึงปัญหาการพบสารแคดเมียมในทุเรียนของไทย ว่าเรื่องนี้จากการตรวจสอบต้นทางของปัญหาแล้ว พบปัญหาที่เกิดนั้นมาจากการพบทุเรียนที่ส่งจากไทยแล้วพบว่ามีสารแคดเมียมปะปนอยู่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ 0.05 มก./กก.เรื่องนี้เป็นเรื่องเสียหายกับการส่งทุเรียนลงไปจีนในปัจจุบัน “การพบสารแคดเมียมครั้งนี้เกิดในช่วงผลผลิตของทุเรียนในภาคใต้และทุเรียนเวียดนามออกผลผลิต เป็นเรื่องที่น่าสงสัยและเคลียบแครงว่า ทำไมจึงเกิดในช่วงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กรมวิชาการเกษตร จะต้องรีบตรวจสอบ และแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยเร็ว และต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าทุเรียนของไทยไม่มีสารแคดเมียมเจือปนซึ่งเรื่องนี้มีผลกระทบกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทย” “ วันนี้ต้องหาคำตอบให้แน่ชัดว่าทุเรียนที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมมาจากพื้นที่ใด,จังหวัดใด,และใช้แหล่งน้ำสายไหน,ปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตใช้ปุ๋ย,ใช้ยา และเป็นยาแบบไหน,ประเภทไหน,ปุ๋ยชนิดใด หากปนเปื้อนจากกระบวนการแพ็คบรรจุก็ต้องบอกว่าสารชนิดไหน แต่สิ่งที่เราชาวสวนทุเรียนมีสิทธิที่จะตั้งคำถามว่าการปนเปื้อนเกิดจากการสวมสิทธิใช่หรือไม่ ? เพราะที่ผ่านมามันมีขบวนการของการนำใบรับรองสุขอนามัยพืชของไทย ไปสวมที่เวียดนาม และแปลงสัญชาติเป็นทุเรียนไทยเป็นสัญชาติไทย ซึ่งเป็นของเวียดนาม ขบวนการนี้มันประจวบกันพอดีกับการที่จีนตรวจพบสารแคดเมียมของเวียดนามและมีการสั่งไม่ให้เข้าจีน จากนั้นแล้วก็นำใบรับรองสุขอนามัยพืช ของไทยไปรับรองเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกระงับการส่งออกทุเรียนของเวียดนามหรือไม่? นายศักดินัย นุ่มหนู ประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ คือได้ทำหนังสือไปที่กรมวิชาการเกษตรให้ชี้แจงถึงสาเหตุการปนเปื้อนสารแคดเมียมในทุเรียนแล้ว ซึ่งคิดว่าเราจะได้คำตอบในเร็วเร็วนี้” นายชลธี กล่าว นายชลธี ยืนยัน ทุเรียนในภาคตะวันออกไม่มีแน่นอน เพราะทุเรียนที่จะมีสารแคลเซียมปะปนอยู่นั้นจะต้องไปปลูกในพื้นที่ที่มีแหล่งทำอุตสาหกรรมหรือแหล่งน้ำหรือแหล่งน้ำ ที่มีการปนเปื้อนของน้ำเสียที่มีสารแคดเมียมปะปนอยู่ เพราะฉะนั้นในภาคตะวันออกของไทยมีการปลูกทุเรียนมามานานนับ 100 ปีและไม่เคยพบว่ามีสารแคดเมียมปะปนอยู่และแผนที่ของกรมพัฒนาที่ดินก็มีการระบุชัดเจนว่าพื้นที่ดินในภาคตะวันออกไม่มีสารแคดเมียมปะปนอยู่ ซึ่งหากล่าช้าต่อไป จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทย นายเรือง ศรีนาราง ประธานสภาเกษตรจังหวัดตราด เปิดเผยว่า การพบแคดเมียมในทุเรียนไทยที่จีนแจ้งมานั้น ยังต้องตรวจสอบและรอการพิสูจน์จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเรื่องนี้ยังตอบชัดเจนไม่ได้ว่าเป็นทุเรียนไทยหรือไม่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เสียหายต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยมาก อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ภาคตะวันออก เราปลูกทุเรียนมากนานกว่า 40 ปี ยืนยันว่าไม่มีแน่นอน แต่ในส่วนของพบนั้น หากพบว่า เกิดจากปัญหา แหล่งใดจะต้องมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะยิ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนทั้งประเทศและจะเกิดความเสียหายกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ซึ่งมูลค่าการส่งออกทุเรียนไปไยังต่างประเทศมีมูลค่านับแสนล้านบาท/ปีแล้วในขณะนี้