เงินเกษียณราชการได้กี่บาท อัปเดต! วิธีคำนวณ มีเงินใช้ยามชรา

วันที่ 4 ก.ย. 2567 เวลา 15:29 น.

อัปเดตวิธีคำนวณ "เงินเกษียณราชการ" ตรวจสอบได้รับกี่บาท วางแผนเกษียณ มีเงินใช้ยามชรา กลุ่มข้าราชการ เมื่อถึงยามเกษียณก็จะได้รับเงินค่าครองชีพยามชรา จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ซึ่งก็คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เป็นระบบออมเกษียณภาคบังคับสำหรับข้าราชการโดยเฉพาะ เงื่อนไขการเกิดสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์ดังนี้  สิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จบำนาญจากกระทรวงการคลัง -สิทธิและเงินที่จะได้รับ กรณีเกษียณ (60 ปี)/ สูงอายุ (ลาออกเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป)/ ทุพพลภาพ/ ทดแทน (ยุบ ยกเลิกตำแหน่ง ให้ออกโดยไม่มีความผิด ออกนอกระบบเกษียณก่อนกำหนด) วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญจากกระทรวงการคลัง ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุราชการ แยกเป็น 2 ประเภท คือผู้เป็นสมาชิก กบข. และ ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.  ผู้เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำนาญรายเดือน สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำนาญรายเดือน คือผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการ ยังประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่างๆ อยู่ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับประโยชน์ที่ได้คือ 1.เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถตรวจสอบยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อยภาษีประจำปี 2.เงินบำนาญรายเดือน คำนวณจาก อายุราชการ × เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ÷ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น ท่านมีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี คำนวนได้ดังนี้ 30,000 x 35 ⁄50   = 21,000 บาท  แต่เงินบำนาญที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หรือสรุปง่ายๆ คือ กรณีรับเงินบำนาญ นับอายุราชการสูงสุดที่ 35 ปี 3.เงินบำเหน็จดำรงชีพ ท่านจะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้ง -ครั้งแรกไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อปลดเกษียณ -ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จ่ายที่เหลือ จากกรณีที่ยกตัวอย่างท่านจะได้ 15 เท่าของ 21,000 บาท เป็นเงิน 315,000 บาท จ่ายเมื่อปลดเกษียณไปแล้ว 200,000 บาท เมื่อครบ 65 ปี ก็จะจ่ายอีก 115,000 บาท 4.เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรมก็จะมีบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทอีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน จากกรณีตัวอย่าง ทายาทจะได้ 315,000 บาท คำนวณได้เท่าไรก็รับไปทั้งหมดโดยไม่แบ่งจ่าย แต่ทั้งนี้ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ถึงแก่ความตายได้แสดงเจตนาไว้ อ่านข่าว : เงินบำเหน็จตกทอด กรมบัญชีกลางย้ำ ทายาทราชการขอได้ กรณีไหนบ้าง ผู้เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำเหน็จ คือผู้ที่ต้องการเงินก้อนไปในคราวเดียว ประโยชน์ที่ได้คือ 1.เงินก้อนแรกจาก กบข. ประกอบด้วยเงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ ท่านสามารถตรวจสอบยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อยภาษีประจำปี 2.เงินบำเหน็จ คำนวณจาก อายุราชการ × เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น เงินเดือนสุดท้ายเท่ากับ 30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี จะคำนวณได้เท่ากับ 30,000 x 35 = 1,050,000 บาท สำหรับผู้ที่ไม่เป็นสมาชิก กบข. คิดง่ายๆ คือ รับบำนาญ เงินเดือนๆ สุดท้าย x อายุราชการ ÷ 50 เช่น เงินเดือน 36,020 x อายุราชการ 35 ปี นำมาคำนวณได้เท่าไรก็รับไป นอกจากนี้ผู้ที่เลือกรับบำนาญจะได้เงินบำเหน็จดำรงชีพ และเงินบำเหน็จตกทอดเช่นเดียวกับสมาชิก กบข. บำนาญที่จะได้รับคือ 25,214 บาท รับบำเหน็จ ให้นำเงินเดือนๆ สุท้าย x อายุราชการ เช่นเงินเดือน 36,020 บาท อายุราชการ 35 ปี เงินที่จะได้รับคือ 1,260,700 บาท โดยคำนวณได้เท่าไรก็จะได้รับทั้งหมดเลย สมาชิกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กบข. หรือ LINE กบข. @gpfcommunity หรือศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก โทร. 1179