ย้อนรอย “คดียุบพรรคการเมืองดัง” ในประวัติศาสตร์ “ประชาธิปัตย์” เป็นพรรคเดียวที่รอด
วันที่ 7 ส.ค. 2567 เวลา 12:15 น.
“ประชาธิปัตย์” เป็นพรรคเดียวที่รอด ในประวัติศาสตร์ คดียุบพรรคการเมืองไทย • 30 พ.ค.50 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย ด้วยข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย จากกรณีจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ เพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นเวลา 5 ปี ตามคำร้องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในวันเดียวกัน ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 9 ต่อ 0 ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากข้อกล่าวหาเรื่อง คว่ำบาตรการเลือกตั้ง รณรงค์ต่อต้านระบอบทักษิณ จ้างพรรคเล็กลงสมัคร ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และ ขัดขวางการเลือกตั้ง สส. สงขลา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ ระดมทีมกฎหมายชั้นครู ชี้แจงได้ทุกข้อกล่าวหา • 2 ธ.ค. 51 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย และ ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค เนื่องจาก กกต. พบพฤติกรรมที่น่าเชื่อได้ว่า มีทุจริตการเลือกตั้ง จึงให้ใบแดง และ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของทั้ง 3 พรรค ดังนี้ - นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน - นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการพรรคชาติไทย - นายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย • 7 มี.ค.62 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากมีการการะทำที่เป็นปฏิปักษ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กรณีการเสนอชื่อบุคคล ให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่สมาชิกพรรค ที่ไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ได้ร่วมกลุ่มภายใต้ชื่อ "ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตย" เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อ รณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง • 21 ก.พ.63 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้พรรคกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามปกติการค้า ถือเป็น “ผลประโยชน์อื่นใด” ขัดต่อกฎหมาย หลังจากนั้น นายธนาธร นำทีมกรรกการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อตามกฎหมาย ภายใต้ชื่อ “คณะก้าวหน้า”