ปฎิกริยาหลัง "ไบเดน" ประกาศถอนตัวชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ

วันที่ 22 ก.ค. 2567 เวลา 16:18 น.

วันนี้ (22 ก.ค. 67) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าประชาชนชาวอเมริกันจำนวนมากยินดี และสนับสนุนการตัดสินใจของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ที่ถอนตัวจากเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมเครต และล้มเลิกความตั้งใจที่จะชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสมัยที่ 2 โดยประชาชนกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต ที่เดินทางไปเยือนทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แสดงความเห็นว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญของนายไบเดน พร้อมหวังว่า ใครก็ตามที่เข้ามาแทนที่นายไบเดน จะทำหน้าที่ได้ดี และประสบผลสำเร็จในการเลือกตั้ง                     นอกจากนี้ นายไบเดนยังดูเหมือนว่า จะมีคะแนนนิยมลดลงเรื่อย ๆ การถอนตัวของเขาจึงเป็นสิ่งจำเป็น                ขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนใหญ่ในเมืองสแครนตัน รัฐเพนซิลเวเนีย บ้านเกิดของนายไบเดน บอกว่า พวกเขาสนับสนุนการตัดใจของนายไบเดน และชาวเมืองอีกจำนวนมากยังชื่นชมว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว              ขณะที่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยโฮวาร์ด ((Howard University)) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่นางกมลา แฮร์รีส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ จบการศึกษา เปิดเผยว่า พวกเขาตื่นเต้นที่ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย และแคนติเดตที่มีอายุน้อยกว่านายไบเดน จะได้ลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่า นายไบเดนจะสามารถทำหน้าที่ผู้นำประเทศต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้าได้ โดยปัจจุบัน นางกมลามีอายุ 59 ปี ขณะที่นายไบเดน มีอายุ 81 ปี             ส่วนปฏิกิริยาจากบรรดาผู้นำต่างชาติ //นายโอลัฟ ช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เปิดเผยว่า นายโจ ไบเดน ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งต่อสหรัฐฯ, ยุโรป และทั่วโลก พร้อมขอบคุณนายไบเดนต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและความแข็งแกร่งของนาโต (NATO) และการตัดสินใจที่จะไม่ลงเลือกตั้งครั้งนี้ สมควรได้รับการยอมรับ            ขณะที่ นายเคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุว่า เขาเคารพการตัดสินใจของนายไบเดน อีกทั้งยังตั้งตารอที่จะทำงานร่วมกับนายไบเดนต่อไปตลอดวาระในตำแหน่งที่เหลืออยู่ และเชื่อว่านายไบเดนตัดสินใจ โดยเอาประโยชน์ของชาวอเมริกันเป็นที่ตั้ง         ด้านโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า รัฐบาลเชื่อว่า ประธานาธิบดีไบเดนคงคิดแล้วว่า การถอนตัวจากการเลือกตั้งเป็น "การตัดสินใจที่ดีที่สุด" ขณะที่ รัฐบาลญี่ปุ่นจะดำเนินการประสานงานด้านนโยบายที่จำเป็น กับรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไปโดยไม่คำนึงถึงผลการเลือกตั้ง