หลอกตุ๋นเงินยายสูญเกือบ 3 ล้านบาท

วันที่ 23 มิ.ย. 2567 เวลา 07:13 น.

สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ - เรื่องนี้เป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งพบอย่างต่อเนื่อง อย่างกรณีนี้ เกิดขึ้นกับคุณยาย อายุ 78 ปี ในที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ถูกแก๊งต้มตุ๋นหลอกให้โอนเงิน หลังจากเข้ามาตีสนิทผ่านเฟซบุ๊ก ทำให้คุณยาย ต้องสูนญเงินไป ถึง 2,900,000 บาท หลอกตุ๋นเงินยายสูญเกือบ 3 ล้านบาท ฟังไม่ผิด ยอดเงิน สูงถึง 2,900,000 เกือบ 3 ล้านบาท ที่ยายโอนไป ทำให้ตำรวจ สภ.ท่าตะเกียบ เองก็ถึงกับอึ้ง และต้องสอบสวนยายสมจิตร อายุ 78 ปี ชาวบ้านอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มาพร้อมหลานสาว อายุ 31 ปี หอบเอกสาร หลักฐาน เป็นสลิปการโอนเงิน เข้าพบพนักงานสอบสวน โดยต้องสอบสวนนานถึง 2 วัน ที่มาแจ้งความร้องทุกข์ หลังจากถูกแก๊งค์ต้มตุ๋น ที่ใช้บัญชีม้า หลอกให้โอนเงิน ยายสมจิตร เล่าว่า เมื่อปีที่แล้ว ได้เล่น เฟซบุ๊ก แล้วจู่ ๆ ก็มีชายชาวต่างชาติทักเฟซบุ๊ก อ้างเป็นทหารรบสงคราม แชทมาขอความช่วยเหลือ แล้วบอกว่า ต้องการนำกล่องที่บรรจุเงินสด เป็นธนบัตรดอลลาร์ ซึ่งตีเป็นเงินไทยถึงประมาณ 53 ล้านบาท เข้ามาในประเทศไทย แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านภาษีนำเข้า หากยายช่วยจะให้เงินคืนคุณยายสมนาคุณเป็นเงิน 7 ล้านบาท พร้อมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้ยายหลงเชื่อได้ยินยอดเงินเท่านั้น คุณยายตกหลุมพรางทันที จึงโอนเงินให้แก๊งต้มตุ๋น ไปจำนวน 38 ครั้ง ตามสลิปที่นำมาเป็นหลักฐานกับตำรวจ ส่วนเงินที่โอนไป เป็นเงินในบัญชีของตนเอง หลังจากสามีที่เสียชีวิตที่ทิ้งไว้ให้ รวมถึงและยังมีเงินค่าเช่าสวนมะม่วง 100 ไร่ ที่ให้ชาวบ้านเช่าทำการเกษตร อีกปีละ 200,000 บาท รวมถึงค่าเช่าห้องแถวด้วย และก่อนหน้านี้คุณยายเคยไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารฯ แล้ว ซึ่งพนักงานก็ได้เตือนว่า อย่าโอนไปให้อีก แต่ยายก็เพราะอยากได้เงินที่กลับคืน จึงถูกหลอกโอนให้ไปอีก ก่อนจะนำหลักฐานเข้าแจ้งความดังกล่าว เบื้องต้น พนักงานสอบสวนเตรียมฯ จะออกหมายเรียก กลุ่มบัญชีม้าจำนวน 5 คน ซึ่งล่าสุด รู้ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว โดยอยู่ระหว่างเตรียมการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ก็ยังไม่ระบุว่า เงินในบัญชีจะอยู่หรือไม่ เนื่องจากการก่อเหตุลักษณะนี้ คนร้ายมักจะเป็นบัญชีม้า แล้วถ่ายโอนเงินออกไปบัญชีอื่นอีกหลายทอด เตือนผู้สูงอายุ เหยื่อคอลเซนเตอร์ ทั้งนี้ ตามสลิปหลักฐานที่โอนไป เชื่อว่า เงินทั้งหมดที่ทยอยโอนให้ น่าจะถูกยักย้ายถ่ายเทไปหมดแล้ว เพราะการก่อเหตุลักษณะนี้ มิจฉาชีพมักจะใช้บัญชีม้า นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า บุตรหลานต้องคอยสอดส่องดูแล และไม่ใช่แค่เพียงส่งข้อความไปบอกไปเตือน แต่ควรพูดคุยกันต่อหน้า หรือยกตัวอย่างเคส ที่เกิดขึ้นรอบตัว โดยเฉพาะหากตกอยู่ในสถานการณ์ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์กำลังหลอกอยู่ และหากผู้สูงอายุเกิดเผลอพลาดเป็นเหยื่อ ไม่ควรไปซ้ำเติม เพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกน้อยใจ ขณะที่ ข้อมูลจากกองบังคับการปราบปราม และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย โพสต์เตือนภัยอย่ากดลิงก์ SMS มั่ว อาจเสียเงินได้ง่าย ๆ ไม่โหลดแอปพลิเคชันเถื่อน หรือไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงเข้าเว็บไซต์ไม่คุ้นเคย และก่อนกดยืนยันให้ตรวจสอบให้ดีก่อน