อันตรายหลังอดอาหาร แล้วกลับมากินใหม่ เทียบเคียง 13 หมูป่าติดถ้ำ

วันที่ 16 พ.ค. 2567 เวลา 13:21 น.

อันตรายหลังอดอาหาร แล้วกลับมากินใหม่ เทียบเคียง 13 หมูป่าติดถ้ำ อ.เจษฎ์ ยกภาวะ "รีฟีดดิง ซินโดรม” ร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานาน หากได้รับอาหารทันที ไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือ อาหารทางปาก อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารทางสาย หรืออาหารทางหลอดเลือดดำ ก็เป็นอันตรายได้ ระวัง "รีฟีดดิง ซินโดรม” (Refeeding Syndrome) อันตรายหลังเลิกอดข้าว แล้วกลับมากินใหม่ วันนี้ (16 พ.ค.67) รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ให้ความเห็นผ่านเพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์”  โดยย้ำว่า โพสต์นี้เป็นการให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ไม่ได้โพสต์วิพากษ์วิจารณ์สังคม แต่อย่างไร ข้อความตอนหนึ่ง อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า หลังจากมีข่าว บุ้ง (บุ้งทะลุวัง) นักกิจกรรมทางการเมือง เสียชีวิตหลังจากที่เคยอดอาหารประท้วงจนป่วย และกลับมากินอาหารอีกครั้ง (ภายใต้การดูแลของแพทย์) ทำให้นึกถึงคำเตือนสมัย "13 ทีมหมูป่า ติดถ้ำ" เรื่องอย่ารีบกินอาหาร หลังจากอดข้าวมานานหลายวัน อาจเกิดภาวะ Refeeding Syndrome ได้ จึงอยากจะยกเรื่องนี้ ขึ้นมาทบทวนกันหน่อย เผื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ประท้วงอดอาหาร หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุใด ๆ จนต้องอดอาหารยาวนานหลายวัน ภาวะรีฟีดดิงซินโดรมคืออะไร จากกรณีนักฟุตบอลเยาวชน 13 ชีวิต ทีมหมูป่า อะคาเดมี่ ติดอยู่ในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย นานนับ 10 วัน มีแค่น้ำหยดให้กินเล็กน้อย ซึ่งทุกคนต้องอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร จึงมีคำเตือนจากกลุ่มโภชนาการ ให้ระวังภาวะ “รีฟีดดิง ซินโดรม” (Refeeding Syndrome) เวลาช่วยเหลือออกมาได้ โดยต้องระมัดระวังการให้น้ำและอาหาร การเกิดรีฟีดดิงซินโดรม เป็นภาวะที่มีความรุนแรง และค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานาน หากได้รับอาหารเข้าไปทันที ไม่ว่าจะเป็นจากน้ำเกลือ ที่มีน้ำตาลเด็กซโตส (Dextrose) อาหารทางปาก อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารทางสาย หรืออาหารทางหลอดเลือดดำ ก็เป็นอันตรายได้ คนที่มีภาวะขาดสารอาหารมาก่อน สภาพร่างกายที่อดอาหารนาน ๆ จะมีการขาดแร่ธาตุ โพแทสเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม และแคลเซียม ดังนั้นเมื่อได้รับอาหารอีกครั้ง ร่างกายจะย่อยและดูดซึมอาหาร เพื่อให้มีการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน โดยร่างกายจะหลั่งสารอินซูลิน (Insulin) เพิ่มการสร้างไกลโคเจน (Glycogen) โดยมีวิตามินบี 1 เป็นตัวช่วย ระหว่างการนำกลูโคสเข้าเซลล์ ก็จะมีการนำแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าไปในเซลล์ด้วยเป็นจำนวนมาก จึงยิ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะแร่ธาตุในเลือดต่ำ ทำให้ระดับวิตามินบี 1 ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้เกิดภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ อย่างรุนแรง จะเกิดมีอาการเหนื่อย หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า ภาวะรีฟีดดิง ซินโดรม แนวทางในการป้องกันภาวะรีฟีดดิง ซินโดรม -ก่อนจะให้อาหาร ควรให้วิตามินบี 1 ประมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุรวม -การเริ่มให้อาหาร จำเป็นต้องเริ่มอาหารอ่อน ในปริมาณน้อยๆ -ถ้าสามารถทำได้ ควรตรวจระดับโพแทสเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม และแคลเซียม ในเลือดก่อน และแก้ไขหากมีระดับเกลือแร่ผิดปกติ และติดตามอาการทางคลินิกและการเปลี่ยนแปลงระดับแร่ธาตุเหล่านี้ในเลือดอย่างใกล้ชิด การกินวิตามิน ที่มีส่วนประกอบของวิตามินบี 1 มีหลักการ ดังนี้ 1. ก่อนจะให้อาหาร ควรให้วิตามินบี 1 ในปริมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับวิตามินแร่ธาตุรวม วันละครั้ง และควรให้ต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 2 วัน หรืออาจให้ต่อไปจนถึง 10 วัน หรือจนกว่าจะได้รับพลังงาน วิตามินรวม และแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างครบถ้วนตามเป้าหมาย 2. เริ่มให้อาหาร พลังงานไม่เกิน 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน ขึ้นกับภาวะทุพโภชนาการ ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดภายใน 4-7 วัน โดยใน 4 วันแรก ควรให้พลังงานประมาณ 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน จากนั้นค่อย ๆ ปรับเพิ่มพลังงานอย่างช้า ๆ เช่น เพิ่มครั้งละ 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน จนถึงพลังงานเป้าหมายภายในเวลา 4-7 วัน และ 3. ติดตามเป็นระยะทุกวัน โดยเฉพาะในช่วง 4-7 วันแรก ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ข้อมูลอ้างอิงจาก Refeeding syndrome: what it is, and how to prevent and treat it.BM