เปิดวิธีลงทะเบียน เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร

วันที่ 21 ธ.ค. 2566 เวลา 10:20 น.

ข่าวดี! กระทรวงเกษตรฯ ไฟเขียว เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร เช็กเงื่อนไข วิธีลงทะเบียนออนไลน์ ทำอย่างไร? ที่ดิน ส.ป.ก. ข่าวดีของเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา อนุญาตให้เปลี่ยนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ทั่วประเทศ 22 ล้านไร่ จำนวน 1,628,520 ราย เอกสารสิทธิรวม 2,205,561 ฉบับ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะเริ่มทยอยเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดฯ ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.67 เป็นต้นไป  เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกร โดย คปก. กำหนดให้เกษตกรที่ถือครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรม โดยสามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 66 เป็นต้นไป ซึ่งมีเกษตรกรเข้าเงื่อนไขกว่า 1.6 ล้านคน เอกสารที่ต้องเตรียม - ส.ป.ท.4-01 /(ฉบับผู้ถือ) หรือ สำเนาสัญญาเงินกู้ ธ.ก.ส. (กรณีกู้เงิน ธ.ก.ส.) - บัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกูล (ถ้ามี) ผู้มีสิทธิยื่นคำขอออก "โฉนดเพื่อการเกษตร" เกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (วันที่ระเบียบใช้บังคับ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1. วันที่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก) 2. วันที่ ปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก) ซึ่งการนับ 5 ปี สามารถตรวจสอบได้จากหลายช่องทาง อาทิ รายชื่อที่ประกาศ ณ ที่ทำการผู้ปกครองท้องที่/วันที่ลงใน ส.ป.ก.4-01 ฉบับแรก ก่อนแบ่งแยก หรือสอบถามได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด) สถานที่ยื่นแจ้งความประสงค์ - ส.ป.ก. ทุกจังหวัด - หน่วยบริการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ของ ส.ป.ก. - ระบบออนไลน์ เว็บไซต์ของ ส.ป.ก. โดยวิธีลงทะเบียนยื่นคำขอเพื่อออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมอผ่านทางออนไลน์ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าไปที่เว็บไซต์ ส.ป.ก. www.alro.go.th 2. เลือกยื่นคำขอเพื่อขอออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรม 3. เข้าสู่หน้าช่องทางบริการยื่นคำร้องในรูปแบบออนไลน์ 3.1 ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ (กรณีไม่เคยลงทะเบียน) -ยอมรับเงื่อนไขการให้บริการ -ลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ 3.2 เข้าใช้บริการ กรอก เลขบัตรประจำตัวประชาชน, รหัสผ่าน 4.เข้าสู่หน้าหลักข้อมูลเกษตรกรรม 4.1 ยื่นคำร้องใหม่ (เลือกคำร้องแสดงความประสงค์ขอออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรม) 5.เลือกคำร้องแสดงความประสงค์ขอออกโฉนดเพื่อเกษตรกรรม 5.1 หนังสือให้แสดงความยินยอมเก็บรวบรวมใช้ เปิดเผยข้อมมูลส่วนบุคคล 5.2 บันทึกคำร้องออกโฉนด 5.3 ยื่นคำร้อง ทั้งนี้ผู้มีสิทธิยื่นคำขอเปลี่ยนโฉนด เกษตรกรที่ถือเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.อยู่แล้ว และยังใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับการเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน ภายในระยะเวลา 2 ปี โดยได้รับสิทธิ์ตามเอกสารสิทธิ์ที่ตนถืออยู่ แต่ยังไม่สามารถซื้อขายที่ดินดังกล่าวได้ในระยะเวลา 5 ปีจากวันที่ได้รับโฉนด กรณีที่มีความจำเป็นในการกู้ยืม (การจำนอง) หรือจำเป็นจะต้องขายที่ดินที่ได้รับโฉนดนั้นก่อนเวลา 5 ปี ให้ดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน (ที่จะจัดตั้งขึ้น) โดยธนาคารที่ดินจะคิดราคาที่ดินตามราคาประเมินของที่ดินที่มีโฉนด เกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. (หรือเป็น ผู้ซื้อ/เปลี่ยนมือที่ดิน ส.ป.ก.) เกษตรกรจะได้รับการเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน หาก (ก) เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำการเกษตรต่อเนื่องมา 10 ปีขึ้นไป และ (ข) มีเอกสารหรือพยานการทำข้อตกลง/การยินยอมจากผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. รวมถึง (ค) เกษตรกรผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินไม่เกิน 10 ล้านบาท เกษตรกรดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่ ขอบคุณข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์