สวนสยาม โดนเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลัง 1 ปี เป็นเงิน 11.6 ล้านบาท
วันที่ 19 ก.ย. 2566 เวลา 18:38 น.
สวนสยาม โดนเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลัง 1 ปี เป็นเงิน 11.6 ล้านบาท ด้าน การไฟฟ้า อ้างมิเตอร์เสีย เพราะฟ้าผ่า ตั้งแต่ พ.ย.65 จึงคำนวณค่าไฟย้อนหลัง ขณะที่ สวนสยาม เผย ช่วงโควิด ขายที่ดินไป 30 ไร่ ซึ่งมีเครื่องเล่นที่ใช้ไฟเยอะ 3 ตัว แต่ค่าไฟกลับพุ่งขึ้นเท่าตัว จากเดิมก่อนขาย ค่าไฟ 2 ล้าน หลังขายค่าไฟ 4 ล้าน! สวนสยาม นางนพกาญจน์ เหลืองอมรเลิศ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด เผยในรายการถกไม่เถียง ช่อง7HD วันนี้ 19 กันยายน 2566 ถึงประเด็นที่สวนสยามถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าย้อนหลังจากการไฟฟ้านครหลวง สาขามีนบุรี เป็นเงิน 11.6 ล้านบาท นางนพกาญจน์ ระบุว่า ปีนี้สวนสยาม เปิดบริการเข้าสู่มาปีที่ 44 ซึ่งเป็นลูกค้าของการไฟฟ้ามาตลอด ทุกงวดไม่เคยบิดพริ้ว บิลมาเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น อาจจะมีบ้างงวดนี้ที่ค่าไฟเยอะ สวนทางกับสถานการณ์บริษัทที่ไม่ดี จึงมีการขอผ่อนชำระ แต่ไม่เคยปฏิเสธจ่ายค่าไฟ เพราะฉะนั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ที่เกิดขึ้น ที่การไฟฟ้าแจ้งว่าสวนสยามค้างค่าไฟ 11 ล้านบาท จึงต้องมาออกรายการเพื่อขอความเป็นธรรม เรื่องราวที่ทางสวนสยาม ทราบเรื่อง คือ เริ่มต้นครั้งแรก ช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ตอนนั้นการไฟฟ้าติดต่อมาที่สวนสยาม เพื่อจะขอติดมิเตอร์เทียบ ซึ่งทางสวนสยามไม่แน่ใจว่าการไฟฟ้า มีการรับรู้อะไร ถึงทำให้มาติดมิเตอร์เทียบ แต่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ระบุว่า ติดมิเตอร์เทียบ เพื่อดูว่ามีมิเตอร์ตัวเดิมทำงานปกติดีหรือไม่ โดยวันที่ 1 เมษายน 2566 จึงนัดหมายเข้ามาติด หลังจากนั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้นและทางสวนสยามมารับรู้อีกครั้ง คือ วันที่ 2 สิงหาคม 2566 การไฟฟ้าเข้ามาเปลี่ยนมิเตอร์ตัวใหม่ โดยทางสวนสยาม ยังชำระค่าไฟตามปกติ สำหรับการจ่ายค่าไฟนั้น เดือนเมษายน 2566 ค่าไฟ 3.9 ล้านบาท พฤษภาคม 2566 ค่าไฟ 3.3 ล้านบาท มิถุนายน 2566 ค่าไฟ 3.1 ล้านบาท ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ล้านบาท ต่อมา วันที่ 1 กันยายน 2566 การไฟฟ้าติดต่อสวนสยาม แจ้งว่า มีค่าใช้จ่ายย้อนหลังเกิดขึ้น โดยระบุบอกว่า มิเตอร์ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้น จึงมีจำนวนเงินที่เรียกเก็บทั้งหมดน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยการไฟฟ้า ส่งหนังสือมาให้ จึงทราบว่า ต้องจ่ายค่าไฟย้อนหลัง 11,600,000 กว่าบาท ซึ่งย้อนหลังตั้งแต่พฤษภาคมปี 2565 หรือ 1 ปีเต็มๆ โดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า อ้างว่ามิเตอร์ทำงานผิดปกติ หลังจากนั้น วันที่ 5 กันยายน 2566 การไฟฟ้าขอเข้ามาพบสวนสยาม เพื่ออธิบายให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้ามาทั้งหมด 10 คน วัตถุประสงค์หลัก คือ เข้ามาชี้แจงระเบียบปฏิบัติของการไฟฟ้านครหลวง กรณีเกิดเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ว่าระเบียบเป็นอย่างไร นางนพกาญจน์ ยังเปิดเผยอีกว่า โดยสุจริตใจเชื่อมั่นในการไฟฟ้ามาโดยตลอด ซึ่งสวนสยามทำหน้าที่ครบถ้วน ได้บิลเท่าไหร่ก็จ่ายตามนั้น จึงไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และรับไม่ได้กับสิ่งเหล่านี้ จึงทำหนังสือขอความเป็นธรรมไปถึง ผอ.การไฟฟ้ามีนบุรี ในวันที่ 8 กันยายน แต่ตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 11 วันแล้วไม่มีการตอบรับใดๆอย่างเป็นทางการ สำหรับยอดการจ่ายค่าไฟย้อนหลังนั้น ช่วงเดือนมกราคมปี 2562 ค่าไฟ 2.5 ล้านบาท ในขณะที่ปี 66 เดือนมกราคม ค่าไฟอยู่ที่ 2.8 ล้านบาท ช่วงพีคในช่วงเดือนเมษายน 62 ค่าไฟอยู่ที่ 2.6 ล้านบาท ส่วน เมษายน 2565 ค่าไฟ 2 ล้านถ้วน เมษายนปี 2566 ค่าไฟ 3.9 ล้านบาท เดือนพฤษภาคม 2566 ที่เริ่มมีปัญหาอยู่ที่ 2 ล้าน 5 ค่าไฟ ส่วนปี 65 เดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 1.8 ล้านบาท ซึ่งเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่นักเรียนเปิดเทอม เป็นช่วง Low season ผู้ใช้บริการไม่เยอะ ซึ่งปี 65 เป็นปีแรกที่เปิด หลังจากสถานการณ์โควิด ลูกค้ากรุ๊ปหาย นักเรียนหาย กรุ๊ปทัวร์ต่างประเทศยังไม่เข้า งานจัดเลี้ยงยังไม่มี ประกอบกับปี 2564 ช่วงเกิดที่โควิด สวนสยามขายที่ดินไปประมาณ 30 ไร่ ซึ่งที่ดินตรงนั้น มีเครื่องเล่น 3 ตัวหลัก คือ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ติดแอร์ทั้งหลังมีแอร์ 20 ตัว เครื่องเล่นตัวที่ 2 คือ ห้องป่าแอฟริกา เป็นการล่องเรือเข้าไปชมหุ่นประมาณ 200 ตัวที่ขยับได้ มีภูเขาน้ำตกขนาดใหญ่ ก็ปิดไป และเครื่องเล่นที่ 3 เครื่องเล่นรถไฟเหาะแบบครอบครัว ด้วยปัจจัยแบบนี้ 3 เครื่องเล่นหลักถูกปิดไป ค่าไฟที่ลดลง ก็ไม่แปลก ผู้ใช้บริการที่น้อยลง 50% รวมถึงมาตรการประหยัดพลังงานต่างๆที่ทำอย่างเข้มข้น เพราะต้องรัดเข็มขัดในการทำกิจการ เพราะฉะนั้นจึงเชื่อโดยสุจริตใจว่าใครจะไปคิดว่า บิลการไฟฟ้าที่ให้มาจะไม่ถูกต้อง ขณะที่ นายณรงค์ศักดิ์ พิมพ์หนู ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตมีนบุรี เผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขออภัยผู้บริหารของสวนสยามที่ทำให้ตกใจ ซึ่งจริงๆแล้ว มีการตรวจพบว่า ค่าไฟมีหน่วยผิดปกติ จึงมีการตรวจสอบโดยละเอียด และพบว่าเครื่องวัดที่สวนสยาม ชำรุด สาเหตุของการชำรุดเกิดจาก ฟ้าผ่า ซึ่งได้ดูข้อมูลย้อนหลัง การไฟฟ้าตรวจพบเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 หลังจากนั้นได้เตรียมข้อมูลติดเครื่องวัดเปรียบเทียบ ซึ่งก็มีการวางแผนนัดเข้าไปติดตั้งเครื่องเทียบ เมื่อเดือนเมษายน 66 ความแตกต่างระหว่าง 2 มิเตอร์ หน่วยที่เกิดขึ้นจริง