คอลัมน์หมายเลข 7 : ผ่าขบวนการทุจริตทำบัตร 10 ปี แฝงตัวอยู่ในไทย ตอน 3
วันที่ 14 ก.ค. 2566 เวลา 20:12 น.
ข่าวภาคค่ำ - คอลัมน์หมายเลข 7 ยังคงอยู่กับซีรีย์ขบวนการทุจริตบัตร 10 ปี ซึ่งคุณสุธาทิพย์ ผาสุข ลงพื้นที่ไป และพบว่าขณะนี้ปัญหาได้เชื่อมโยงไปสู่การเรียกรับส่วยเพื่อแลกกับการอนุญาตให้ทำมาหากินโดยไม่ถูกจับ-ปรับ จนส่งผลกระทบกับคนไทยในพื้นที่ และกระทบกับความมั่นคง ติดตามจากรายงาน ที่นี่คือถนนบัวคูณ ในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แหล่งชุมชนที่มีชาวเมียนมาอยู่อาศัย และทำมาหากินจำนวนมาก ทุก ๆ เช้า บนถนนสายนี้ จะเต็มไปด้วยภาพของชาวเมียนมา ที่ออกมาขายแรงงาน รับจ้างอยู่รอบตลาด ผสมผสานปะปน ไปกับคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ หากมองผิวเผิน ที่นี่ อาจดูไม่ได้แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ มากนัก จนกระทั่งเราพบกับภาพของชาวเมียนมาที่สวมเสื้อวินประกอบอาชีพขี่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อพ่วงรับจ้าง และการตั้งร้านขายของลักษณะเหมือนเป็นเจ้าของเอง ทั้งที่ตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้สามารถทำได้ คนไทยที่ตลาดให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ชาวเมียนมาบางกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพซึ่งในทางกฎหมายกำหนดว่าเป็นงานที่ต้องห้ามได้ เป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ มี "ตั๋ว" หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ จ่ายเงินแลกกับการประกอบอาชีพ โดยมีนายหน้าทั้งคนไทยและชาวเมียนมาเป็นคนประสาน รับเคลียร์เป็นรายเดือนให้กับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีสนนราคาตั้งแต่หลักร้อยบาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท แล้วแต่อาชีพ และอาณาเขตพื้นที่ แต่ประเด็นที่น่าจับตาคือการกระทำเหล่านี้ ส่งผลกระทบกับคนไทยในพื้นที่ ซึ่งมีโอกาสได้งานทำน้อยลง ไม่เพียงแต่ชาวเมียนมาในพื้นที่ ซึ่งลักลอบทำงานผิดเงื่อนไขตามกฎหมาย โดยมีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์โดยร่วมมือกับนายหน้า ล่าสุดจากการลงพื้นที่ติดตาม ยังพบว่ามีกลุ่มชาวจีนที่เข้าไปลงทุนอยู่ที่ชายแดนเมียนมา กลุ่มผู้ลี้ภัยและกลุ่มกองกำลังจากฝั่งเมียนมา อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จนเกิดเป็นข้อห่วงใย ซึ่งอาจกระทบกับความมั่นคงของประเทศอีกด้วย คนเลิกกะดึก ขี่รถคนเดียวโดน ช่วงเดือนที่ผ่านมาเกิดเหตุอาชญากรรม ระยะหลังมีหมด รีบไปข้ามเข้ามาในประเทศไทยซึ่งถ้าพูดถึงยังไม่มีสถานะผู้หนีภัยกันสู้รบถ้าเป็นผู้หนีภัยการสู้รบจะต้องไปอยู่ตามโซนพักพิงชั่วคราวแต่ปรากฏว่าไปเช่าห้องพักเช่าโรงแรมอยู่เป็นกลุ่มซึ่งทางจังหวัดก็มีหนังสือแจ้งให้นายอำเภอในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายโรงแรมตรวจสอบและเน้นย้ำไปทางโรงแรมว่าถ้าผู้ประกอบการรายใดให้ที่พักพิงหรือให้บริการกับคนที่ไม่มีสัญชาติไทยจะต้องรายงานตม ทำให้เกิดข้อห่วงใยจากรัฐบาลเพื่อนบ้านว่าเดี๋ยวจะกลายเป็นพื้นที่ทรงซุ้มรวบรวมทั้งคนและเครื่องไม้เครื่องมือซึ่งอาจจะก็ให้เกิดการต่อต้านทำกิจกรรมในประเทศเขาเบื้องต้นยังไม่พบในกระบวนการที่มาทำบัตร 10 ปี ท่ามกลางปัญหาและข้อห่วงใย ยังมีข้อเสนอแนะอีกด้านหนึ่ง จากผู้มีประสบการณ์ทำงานและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือสถานะทางทะเบียนแต่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยสะท้อนปัญหาและข้อจำกัดที่ทำให้เกิดการอาศัยช่องว่างหาผลประโยชน์ ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ เป็นวันที่ถูกระบุเอาไว้ว่าจะมีบทสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใดบ้าง อาศัยอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่กระทำการทุจริต โดยร่วมมือกับกลุ่มนายหน้า แสวงหาผลประโยชน์ จนส่งผลกระทบกับคนไทยในพื้นที่และความมั่นคง โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจังหวัดตาก หลังขยายเวลาการสอบสวนบุคคลต้องสงสัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยผู้ยื่นขอออกทำบัตร เจ้าบ้าน ผู้รับรอง และเจ้าหน้าที่ ซึ่งเวลานี้ ยังไม่มีใครยอมรับสารภาพ