นักท่องเที่ยวทะลักชมแห่นางดานมหาสงกรานต์นครศรีธรรมราช หนึ่งเดียวในประเทศไทย

วันที่ 15 เม.ย. 2566 เวลา 08:21 น.

นักท่องเที่ยวทะลักชมแห่นางดานมหาสงกรานต์นครศรีธรรมราช หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่บริเวณหอพระอิศวร ถนนราชดำเนิน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สถานที่จัดประเพณี “แห่นางดานมหาสงกรานต์นครศรีธรรมราช” นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาร่วมพิธีและชมการแสดงแสงสีเสียงอย่างอลังการ ประเพณีแห่นางดานดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราช สืบเนื่องมาหลายร้อยปี แต่มาสูญหายไปราว 100 ปีก่อน การประกอบพิธีเป็นไปตามคติพราหมณ์ไสวย์นิกาย หรือที่เรียกอีกอย่างว่าประเพณีตรียัมปวาย ช่วงโพล้เพล้เมื่อพระอาทิตย์ตกดินโดยมีการตั้งขบวนแห่จากศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดเส้นทางมุ่งหน้าไปยังหอพระอิศวรจะปิดไฟฟ้าส่องสว่างตลอดทาง จะมีการจุดตะเกียง หรือคบได้ ให้แสงสว่างเท่านั้น พิธีแห่นางดาน” เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งมีชุมชนพราหมณ์เกิดขึ้นในนครศรีธรรมราช หรือเมื่อราว พ.ศ.1200 โดยเป็นงานประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อบูชาเทพบริวารในคติพราหมณ์ โดยนางดานหรือนางกระดาน เป็นแผ่นไม้กระดานที่มีขนาดความกว้างหนึ่งศอกและสูงสี่ศอก แกะสลักเป็นรูปเทพบริวารในคติความเชื่อของพราหมณ์  รูปพระอาทิตย์และพระจันทร์, แผ่นที่สองคือรูปพระแม่ธรณี และแผ่นที่สามคือรูปพระนางคงคา  โดยทั้ง 3 แผ่น จะนำมาร่วมในขบวนแห่เพื่อรอรับเสด็จพระอิศวรที่เสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลก ณ เสาชิงช้า ตามคดีความเชื่อกันว่าการเสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลกเพื่อประสาทพรให้เกิดความสงบสุข ให้เกิดน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ และช่วยคุ้มครองมนุษย์โลกให้ปลอดภัย ซึ่งตามความเชื่อการเสด็จลงมาของพระอิศวรจะต้องเสด็จลงมาในเดือนอ้ายจะมีพิธีรับเสด็จ มีนาลิวัลย์มาอยู่ในพิธี โดยประเพณีนี้ได้ถูกรื้ฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมา เป็นพิธีที่ชาวนครศรีธรรมราชภาคภูมิใจอย่างมากและเป็นต้นแบบของพิธีโล้ชิงช้าหรือตรียัมปวายที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินธุ์นั่นเอง