กล้าลองกล้าลุย : ลุยตามหาชันโรง ผึ้งจิ๋วประโยชน์มหาศาล ตอน 1
วันที่ 20 มี.ค. 2566 เวลา 07:18 น.
สนามข่าว 7 สี - วันนี้พาไปลุยตามหา แมลงจิ๋ว ที่ทางใต้เรียกกันว่า "ขี้อุง" ทางอีสานเรียกแมลงชนิดนี้ว่า "ขี้สูด" ส่วนทางเหนือเรียกกันว่า "ขี้ตั๋งนี" ของชันโรง ผึ้งจิ๋วที่ไม่ใช่แค่สร้างรายได้ให้กับคนเลี้ยง แต่ยังมีประโยชน์ใช้งานได้หลายอย่าง ไปติดตามชมพร้อมกันใน "กล้าลองกล้าลุย" เราเดินทางกันต่อ ขอลงใต้ มาตามหาแมลงตัวจิ๋ว แต่มากด้วยประโยชน์มหาศาล เพราะมันสร้างรายได้ให้กับคนเลี้ยง สร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ และแทบจะทุกส่วนของมัน นำไปใช้งานได้ บางอย่างก็กลายเป็นของหายากในหลายพื้นที่ นี่คือ ตัวชันโรง ชันโรง หรือ ผึ้งจิ๋ว ถึงแม้จะถูกพบได้ในธรรมชาติทั่วไป และมีอยู่นับร้อยชนิดทั่วโลก แต่สำหรับบ้านเรา ที่นิยมเลี้ยงกันอยู่มีไม่กี่สายพันธุ์ หลายคนอาจคิดว่า ตัวชันโรง มันไม่น่าจะมีพิษสงอะไร เพราะตัวเล็ก ๆ แต่บางชนิดก็ดุ ถึงไม่มีเหล็กไน แต่ก็มีฟันกรามที่แข็งแรง กัดแบบไม่ปล่อย อย่างที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ผึ้งและชันโรงเขาบรรทัด ในตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ของ พี่ชัยรัตน์ ยาชะรัด แหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ ทั้งการเลี้ยงชันโรงหลากหลายชนิด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในส่วนต่าง ๆ อย่างแรกที่ต้องเรียนรู้ คือ การสังเกตว่าสายพันธุ์ไหนดุ สายพันธุ์ไหนเป็นมิตร ซึ่งวันนี้ เราประเดิมสายพันธุ์ที่กัดไม่ปล่อยก่อนเลย นี่แหละ โดนกันถ้วนหน้า ถึงไม่มีเหล็กใน แต่ก็ทำเอาขนลุก เพราะมันกัดเจ็บ กัดไม่ปล่อย วันนี้ทำงานไป เจ็บตัวไป ขี้อุง ขี้สูด ขี้ตั๋งนี ตามชื่อเรียกของแต่ละภาค จุดเด่นของเขา ก็คือ น้ำผึ้งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ที่นี่จะเน้นเลี้ยงไว้ในสวน ผ่านกล่องไม้ ให้เขาได้หาน้ำหวาน จนเมื่อได้ระยะแล้ว ก็จะแกะรังเอาน้ำหวานออกมาขาย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะให้ลักษณะน้ำหวานผ่านรังที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่นที่นี่ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ของ น้องระ วัชระ เมฆแก้ว คนเลี้ยงชันโรงอีกสายพันธุ์ น้องระ บอกว่า ผลิตน้ำหวานส่งขายแทบไม่ทัน นอกจากน้ำหวานจากชันโรงแท้ ๆ สามารถส่งขายไปทั่วประเทศแล้ว ที่เราตามหาอีกอย่าง และหายากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ถือเป็นของสำคัญ คือ สิ่งนี้ ขายกันทีกิโลกรัมละเป็นพันบาทก็มี แล้วเอาไปทำอะไรต่อ ห้ามพลาด