แบคทีเรีย “ไมโคพลาสมา” พบได้ทั่วไป ในอดีตอาการไม่รุนแรง แต่ปัจจุบันความรุนแรงเปลี่ยนไปมาก

วันที่ 8 ม.ค. 2566 เวลา 13:05 น.

แบคทีเรียไมโคพลาสมา หมอจิรรุจน์ เผยพบได้ทั่วไป ติดต่อผ่านการสัมผัส หายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป สมัยก่อน อาการไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ปอดติดเชื้อหายใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ประสบการณ์ 10 ปี ใน ICU เด็ก พบมากขึ้น เชื้อแบคทีเรียไมโคพลาสมา วันนี้ (8 ม.ค.66) นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเชื้อแบคทีเรียไมโคพลาสมา ว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ทั่วไป ติดต่อผ่านการสัมผัส หายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ ทำให้เกิดอาการได้ในหลายๆ ตำแหน่งในร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นจากตัวเชื้อเอง มักจะเล่นงานที่ะรบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ (ปอดบวม)  ซึ่งสมัยก่อน อาการของคนที่ติดเชื้อแบบนี้มักไม่รุนแรง แต่เรื้อรัง แต่ปัจุุบัน เปลี่ยนไปมาก หมอพบเด็กที่ติดเชื้อตัวนี้ มีอาการในระบบหายใจที่รุนแรงเช่น ฝีในปอด หรือ ปอดติดเชื้อแบบชนิดรุนแรงที่มี ARDS ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มาเรื่อยๆ มากกว่า สมัยที่เรียนว่า เชื้อนี้อาการมักไม่รุนแรง ส่วนอาการในระบบอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นจากความุรนแรงของตัวเชื้อ อีกส่วนเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อเชื้อ เช่น - ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) - เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) อันนี้มาด้วย หมดสติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเหนื่อยหอบมากขึ้นจากหัวใจล้มเหลวก็เคยพบ - ภาวะสมองอักเสบ (meningoencephalitis) ไข้สูง ชัก หมดสติ - ผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงอาการแพ้ยารุนแรง ที่เรียกว่า Steven-Johnson Syndrome (SJS)  ก็มีการศึกษาพบว่าเชื้อตัวนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง หมอจิรรุจน์ เปิดเผยด้วยว่า การรักษาหลักๆ คือคือการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Azithomycin แต่ปัจจุบันมีรายงานว่าเชื้อเริ่มดื้อต่อยานี้มากขึ้น ยาอีกกลุ่มที่ใช้ได้ดีกลุ่ม quinolone เช่น levofloxacin ส่วนการรักษาอาการในระบบต่างๆ ก็แล้วแต่ผลที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เช่น ปอดติดเชื้อหายใจล้มเหลวก็อาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ กล้ามเนื้อหัวอักเสบก็อาจต้องให้ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ การให้ยา IVIG หรือ ถ้ารุนแรงมากอาจต้องใช้เครื่อง ECMO เพื่อชื้อเวลารอกล้ามเนื้อหัวในฟื้นตัว โดยประสบการณ์ของหมอช่วง 10 ปีใน ICU เด็กเราพบการติดเชื้อ “ไมโคพลาสมา” มากขึ้น ทั้งในเด็กเล็ก และในเด็กโต โดยสัดส่วนของเด็กโตยังมากกว่าและบ่อยกว่า แต่ความรุนแรงเปลี่ยนไปมาก เจอทุกแบบ ทั้งสมองอักเสบ กล้ามหัวใจอักเสบ ปอดติดเชื้อระดับรุนแรง ARDS  แต่เริ่มต้นก็มาด้วยเรื่องของไข้นำมาก่อน เพียงแต่อาจจะยาวนานกว่า การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ