“พิพัฒน์” เน้นย้ำความปลอดภัยในสถานประกอบการ จัดประชุมวิชาการ เสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ภาคเหนือ

View icon 543
วันที่ 2 ธ.ค. 2567
แชร์

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน (ภาคเหนือ) โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี  เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมและป้องกันด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ร่วมงานเสวนา และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยถึงการเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ว่า ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นการเสวนาที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องแรงงานเป็นอย่างมาก ที่ทุกหน่วยงานจะได้แลกเปลี่ยนความรู้งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน นำเสนอผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าโครงการผลงานของคลินิกโรคจากการทำงาน เพื่อดูแลลูกจ้างให้มีสวัสดิภาพความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พร้อมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ ผ่านโครงการด้านการส่งเสริมและป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัย และโรคเนื่องจากการทำงาน ได้แก่ โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน โครงการอบรมแพทย์ประเมินสมรรถภาพ โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน และโครงการอบรมให้ความรู้แก่ลูกจ้าง ผ่านสภาองค์การนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อลดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของลูกจ้างในปี 2567 ทั่วประเทศ มีสถิติอยู่ที่ 1.55 ราย ต่อลูกจ้าง 1,000 ราย ส่วนใน 17 จังหวัดภาคเหนือสถิติอยู่ที่ 4.68 ราย ต่อลูกจ้าง 1,000 ราย ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะต้องมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การประสบอันตรายลดลงในปี 2568

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความสำคัญของงานกองทุนเงินทดแทนแก่ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินการสนับสนุนงบประมาณด้านการป้องกันและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนประชุมหารือและระดมความคิดเห็นในการสร้างแนวทางในการบูรณาการงานร่วมกันของเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และก้าวทันตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคใหม่ เพื่อให้สังคมแรงงานเข้าถึงข้อมูลสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 400 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมและป้องกันด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย สถานประกอบการ ประกันสังคมจังหวัด/หัวหน้าสาขา และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ พร้อมกันนี้ ยังได้จัดกิจกรรมการมอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการต้นแบบการลดการประสบอันตราย จำนวน 16 แห่ง ซึ่งเป็นรางวัลที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถใช้เป็นต้นแบบและจูงใจให้สถานประกอบการอื่น ๆ เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอันตรายให้แก่ลูกจ้างอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเสริมว่า กิจกรรมนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และก้าวทันตามกระแสเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคใหม่ เพื่อให้สังคมแรงงานเข้าถึงข้อมูลของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดงานประชุมวิชาการเสวนาฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 5 แล้ว ซึ่งทุกครั้งที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากนายจ้าง ลูกจ้าง เป็นอย่างดีในทุกจังหวัด แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน ทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาให้แรงงานไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต


674d3b98573f67.32712554.jpg

674d3b988177f6.26218964.jpg

674d3b98f0a145.18423345.jpg

674d3b997b0dc6.02509419.jpg

674d3b9a1d0591.94141009.jpg

674d3b9a933517.25948577.jpg

674d3b9aed0171.88396679.jpg

674d3b9bea39a1.10244029.jpg

674d3b99c95f04.97691761.jpg