มาตรฐานกลางในการบริหารจัดการสาธารณะ

View icon 478
วันที่ 28 พ.ค. 2564
แชร์

กรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญกับการเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการสาธารณะให้กับสำนักงานเขต เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งลดบทบาทส่วนกลางลงเหลือเพียงภารกิจหลักเท่าที่จำเป็น และให้อำนาจในการจัดบริการสาธารณะในระดับพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งหมดก็เพื่อมุ่งสู่การเป็น ”มหานครแห่งเอเชีย” ภายในปี 2575 อย่างแท้จริง

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/05/28/60b0695a2d4cd8.29399825.jpg

ในปี 2562 กรุงเทพมหานคร ติดอันดับ 18 เมืองที่มีดัชนีพลวัตสูงสุดในโลก แสดงให้เห็นถึงเมืองที่มีศักยภาพและความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสูงในด้านธุรกิจ-การพาณิชย์จากทุกภูมิภาคของโลก เกิดการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่รวดเร็ว

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/05/28/60b0695aae0c22.43466574.jpg

การเติบโตของประชากรและเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองใหญ่ที่มีการขยายตัวอย่างเนื่อง ทำให้มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่โล่งว่างและพื้นที่สีเขียวในเมืองลดลง จึงเกิดการเตรียมตัวเพื่อสร้างพื้นที่และเชื่อมโยง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเชื่อมโยงถนน คูคลอง และพื้นที่สาธารณะ เพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงความสมดุลของระบบนิเวศ ลดปัญหาสภาพแวดล้อมแออัด มลภาวะและอากาศเป็นพิษ ส่งเสริมการทำงานของระบบสาธารณูปโภค พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้น

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/05/28/60b0695b303479.49632181.jpg

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ20ปี จึงเดินหน้าขับเคลื่อนวิสัยทัศน์อย่างเข้มแข็ง ผ่าน “มหานครประชาธิปไตย” โดยลดบทบาทส่วนกลางลงเหลือเพียงภารกิจหลักเท่าที่จำเป็น และให้อำนาจในการกำหนดนโยบายหรือตัดสินใจในการจัดบริการสาธารณะในระดับพื้นที่ ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการบริหาร เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนมากขึ้น สู่การเพิ่มอำนาจในการกำหนดนโยบายและตัดสิน

https://cdni-cf.ch7.com/i/images/2021/05/28/60b0695b8f65c2.81313870.jpg

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดการสาธารณะเข้ากับพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ ผ่านโครงการนำร่องจำนวน 11 แห่ง ช่วยเพิ่มพื้นที่ร่มไม้ต่อพื้นที่เมืองร้อยละ 30 เกิดพื้นที่สีเขียว 10 ตารางเมตร/คน ซึ่งบางส่วนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น กทม. ยังคงพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ที่นอกเหนือจากโครงการนำร่อง อาทิ การก่อสร้างเส้นทางคนเดิน-ทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะ “สวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ” หรือสะพานเขียว ระยะทาง 1.3 กม. การปรับปรุงภูมิทัศน์ สวนบวรประชานันท์ เฟส 2 และการพัฒนาเกาะลอยน้ำ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมพัฒนาสวนลุมพินีในโอกาสครบรอบ 100 ปี ทั้งหมดเพื่อเตรียมความพร้อมให้กรุงเทพฯ มุ่งสู่การเป็น มหานครแห่งเอเชีย ภายในปี 2575 อย่างแท้จริง